ถั่วพู (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC.)
เป็นพืชล้มลุก ดอกสีขาวอมม่วง ผลเป็นฝักแบนยาวมี 4 ปีก ความยาวของฝักประมาณ 3-4 นิ้ว ภายในมีเมล็ดกลมเรียบ นิยมนำถั่วพูมาประกอบอาหารประเภทยำหรือกินสด ถั่วพูเป็นผักที่เสียเร็ว เหี่ยวง่ายและเกิดสีน้ำตาลเร็ว เก็บได้ไม่นาน คุณค่าทางอาหาร ถั่วพูมีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ซี อี บี1 บี2 ไนอะซิน สรรพคุณทางยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้ ในอาหารไทยนำฝักอ่อนมาลวก กินกับน้ำพริก ยำ หั่นใส่ในแกงส้ม แกงป่าหรือกินกับขนมจีน หั่นผสมในทอดมัน ยอดอ่อนและดอกใช้จิ้มน้ำพริก ใบอ่อนทำสลัดหรือใส่ในแกงจืด เมล็ดแก่คั่วให้สุกรับประทานได้ หัวแก่ใช้เชื่อมเป็นของหวานหรือเผารับประทานเช่นเดียวกับมันเทศหรือมันสำปะหลัง ในพม่า นำหัวถั่วพูไปต้มจิ้มน้ำจิ้ม กินเป็นอาหารว่าง ใบอ่อนกินเป็นสลัด ในปาปัวนิวกินีนำหัวถั่วพูไปห่อใบตองหรือใบไผ่แล้วย่างรับประทาน ในอินโดนีเซียนำเมล็ดถั่วพูไปทำเทมเป้เช่นเดียวกับถั่วเหลือง หัวถั่วพูนำมาสับ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มต่างน้ำ เป็นยาบำรุงกำลังคุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัม
ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี่น้ำ 93.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม
โปรตีน 2.1 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
เส้นใย 1.2 กรัม
แคลเซียม 5 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม
วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม
วิตามินซี 32 มิลลิกรัม
ประโชยน์
1.ช่วยทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปได้ด้วยดี2.ช่วยป้องกันและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม
3.ฝักอ่อนถั่วพูช่วยบำรุงร่างกาย
4.ช่วยลดคอเลสเตอรอล
5.ใช้เป็นอาหารได้แก่ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน รสมัน (ใช้กินเป็นผัก) และหัวใต้ดิน (ใช้กินเป็นอาหารแห้ง)
6.เมล็ดแก่มีน้ำมันอยู่ร้อยละ 16-18 สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันพืชสำหรับใช้ปรุงอาหารได้
7.ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
8.ใช้ในการรักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
9.หัวใต้ดินนำมาเผาหรือนึ่งกินช่วยบำรุงกำลัง หรือจะใช้รากถั่วพูใช้ผสมกับสมุนไพรและน้ำดอกไม้ใช้เป็นยาชูกำลัง
10.ช่วยบำรุงกระดูกและฟันเนื่องจากมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง
11.ใบถั่วพูช่วยแก้อาการอาเจียน
12.ฝักมีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยระบบขับถ่ายให้ทำงานอย่างเป็นปกติ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก
13.รากถั่วพูช่วยแก้โรคลมพิษกำเริบ ทำให้คลั่งเพ้อ
การปลูกและขยายพันธุ์
ถั่วพูเป็นพืชสวนครัวที่ปลูกดูแลรักษาง่าย ปลูกได้ตลอดทั้งปี ถั่วพูเป็นพืชที่ชอบดินร่วนซุย เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด นิยมปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์1.ปลูกลงในแปลงดินที่เตรียมไว้
2.นำเมล็ดถั่วพูไปแช่ในน้ำอุ่นไว้
3.นำผ้าขาวบางมาห่อเมล็ดถั่วพูแล้วนำไว้ในบริเวณที่มีความชื้นสูง เป็นเวลาประมาณ 3 คืน
4.นำเมล็ดพันธุ์ของถั่วพู ประมาณ 3-4 เมล็ด ใส่ลงในลงหลุมปลูก กลบดินให้แน่นพอประมาณ ให้มีระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 2 เมตร และระยะระหว่างแถว 1 เมตร
5.เมื่อถั่วพูมีอายุได้ประมาณ 10 วัน ให้ถอนกล้าที่ไม่สมบูรณ์ออก ให้เหลือแค่สองต้น
6.เมื่อถั่วพูมีอายุได้ประมาณ 20 วันหลังจากปลูก หรือเริ่มมีใบจริง 4-5 ใบ แล้วจะเริ่มทอดยอดหรือเลื้อย ให้เริ่มทำค้าง ปักแบบตั้งตรงเดี่ยว การปักไม้ค้างห้างถั่วพู ควรเป็นเสาที่แข็งแรง 1 หลักต่อหลุม ยาวประมาณ 2 เมตร ในระยะแรกต้องมีการจับยอดถั่วพู มาพันไม้ค้างไว้ แล้วใช้เชือกผูกเถาพันหลักค้าง
วิธีดูแลรักษาถั่วพู
ถั่วพูเป็นพืชที่ชอบน้ำ ต้องระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแดด ต้องดูแลรดน้ำเสมอ และโดนแดดได้ตลอดวัน ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้ถั่วพูโตได้เร็วการเก็บผลผลิตถั่วพู
ถั่วพูจะปลูกเพื่อรับประทานฝักอ่อนเป็นหลัก ซึ่งมักจะเก็บฝักในระยะที่ฝักยังเป็นสีเขียวอ่อนหรือมีอายุหลังการปลูกประมาณ 140-160 วัน หรือหลังจากติดฝักแล้ว 20-40 วัน ซึ่งจะต้องทยอยเก็บในทุกๆวัน เพราะถั่วพูจะมีฝักที่เติบโตไม่พร้อมกัน ควรเก็บเกี่ยวถั่วพูในตอนเช้า หรือตอนเย็นเพราะกลีบถั่วพู เป็นกลีบที่บาง ถ้าเก็บตอนสายหรือแดดร้อนมาก จะทำให้กลีบถั่วพูช้ำไม่สวย และนำใบตองกล้วย หรือถุงพลาสติกรองตะกร้าไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบถั่วพูช้ำ
-------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://medthai.com
https://th.wikipedia.org
http://guru.sanook.com
https://www.thai-thaifood.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น