วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

มะรุม (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.)

    มะรุม (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.)

เป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น และยังมีในเขตเอเชียไมเนอร์และแอฟริกา เป็นไม้ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง งอกเร็ว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ต้นกล้าสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีประโยชน์อเนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 - 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 - 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.

ประโยชน์ของมะรุม

1.สรรพคุณของมะรุมช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ไม่ให้หยาบกร้าน
2.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัย (น้ำมันมะรุม)
3.ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
4.ช่วยรักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ
5.ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย (ฝัก)
6.มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็ง (ใบ, ดอก, ฝัก, เมล็ด, เปลือกของลำต้น)
7.ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
8.ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้อาการแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น
9.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
10.ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
11.มะรุมลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ, ฝัก)
12.ใช้รักษาโรคหัวใจ (ราก)
13.มะรุมลดน้ำตาล ช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล
14.ใช้รักษาโรคหอบหืด (Asthma) (ยาง)
15.ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
16.ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่ต่ำลงของผู้ป่วยเอดส์
17.ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ดอก)
18.ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ราก)
19.ช่วยคุมธาตุอ่อน ๆ (เปลือกของลำต้น)
20.แก้ลมอัมพาต (เปลือกของลำต้น)
21.ใช้ขับน้ำตา (ดอก)
22.ใช้บำรุงสุขภาพและรักษาดวงตาให้สมบูรณ์
23.ช่วยรักษาโรคตาได้เกือบทุกโรค อย่างเช่น โรคตาต้อ ตามืดมัว เป็นต้น
24.ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคโพรงจมูกอักเสบ
25.น้ำมันมะรุมใช้นวดศีรษะ ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ แก้อาการคันหนังศีรษะ ลดผมร่วง (น้ำมันมะรุม)
26.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
27.ใช้แก้ไข้และถอนพิษไข้ (ใบ, ยอดอ่อน, ฝัก, เมล็ด)
28.ใช้แก้อาการไข้หัวลมหรืออาการไข้เปลี่ยนฤดู (ดอก)
29.ช่วยบรรเทาและรักษาอาการหวัด (เมล็ดมะรุม)
30.ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังให้ดีขึ้น (เมล็ดมะรุม)
31.ช่วยบรรเทาอาการและลดสิวบนใบหน้า (น้ำมันมะรุม)
32.ช่วยลดจุดด่างดำจากแสงแดด (น้ำมันมะรุม)
33.ใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
34.ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ยาง)
35.ช่วยแก้อาการปวดหู (Earache) (ยาง)
36.น้ำมันมะรุมใช้หยอดหูเพื่อป้องกันและฆ่าพยาธิในหู รักษาโรคหูน้ำหนวก เยื่อบุหูอักเสบ
37.ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ
38.ช่วยรักษาแผลในปากหรือแผลจากโรคปากนกกระจอก
39.นำเปลือกของลำต้นมาเคี้ยวกินเพื่อช่วยย่อยอาหาร (เปลือกของลำต้น)
40.ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ (เปลือกของลำต้น)
41.เปลือกของลำต้นมีสรรพคุณช่วยในการคุมกำเนิด (เปลือกของลำต้น)
42.ช่วยบำรุงและรักษาปอดให้แข็งแรง และรักษาโรคปอดอักเสบ
43.รับประทานเมล็ดมะรุมวันละ 1 เมล็ดก่อนนอน ช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างปกติและสม่ำเสมอ (เมื่อขับถ่ายเป็นปกติแล้วควรหยุดรับประทาน)
44.ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ อาการท้องเสีย ท้องผูก
45.ช่วยรักษาและขับพยาธิในลำไส้ (เมล็ดมะรุม)
46.ช่วยในการขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก)
47.ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
48.ช่วยรักษาโรคไขข้อ (Rheumatism) (ราก)
49.ช่วยบรรทาอาการของโรคเกาต์ บ้างก็ว่าสามารถใช้รักษาโรคเกาต์ได้
50.ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ
51.ช่วยรักษาโรครูมาติสซั่ม
52.ช่วยบำรุงและรักษาโรคตับ ไต
53.น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อตามบั้นเอวและขา
54.น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
55.ใช้แก้อาการปวดตามข้อ (เมล็ด)
56.แก้อาการบวม (ราก, เมล็ด)
57.ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนังและการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กทารก (น้ำมันมะรุม)
58.ช่วยรักษาบาดแผล แผลสดเล็ก ๆ น้อย ๆ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
59.ช่วยถอนพิษและลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย (น้ำมันมะรุม)
60.ใช้เป็นยาปฏิชีวนะ
61.ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ใบ, ดอก)
62.ใช้รักษาเชื้อราตามผิวหนัง ศีรษะ ตามซอกเล็บ โรคน้ำกัดเท้า (น้ำมันมะรุม)
63.น้ำมันมะรุมใช้ทารักษาหูด ตาปลา
64.ช่วยรักษาโรคเริม งูสวัด
65.ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้านจุลชีพ
66.ช่วยฆ่าเชื้อไทฟอยด์ (ยาง)
67.ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (syphilis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง (ยาง)
68.การรับประทานมะรุมในช่วงตั้งครรภ์จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ของเด็กทารก
69.ฝักมะรุมนำมาใช้เป็นไม้ตีกลองได้เหมือนกันนะ โดยเฉพาะในแถบอินเดีย
70.ใบสดนำมารับประทานได้ ส่วนใบแห้งนำมาทำเป็นผง
71.เมล็ดบางครั้งนำมาคั่วรับประทานเป็นถั่วได้
72.เมล็ดมะรุมเมื่อนำมาบดละเอียดสามารถนำไปใช้กรองน้ำได้ ทำให้น้ำตกตะกอนและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ 73.น้ำที่ได้จะค่อนข้างสะอาดและมีรสออกหวาน
74.น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสด นำมาใช้เป็นน้ำมันในการปรุงอาหาร
75.น้ำมันมะรุมนำมาใช้ในการปรุงอาหารชนิดเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนในภายหลัง
76.น้ำมันมะรุมนำมาใช้เป็นน้ำยาหล่อลื่นต่าง ๆ ประจำบ้านและช่วยป้องกันสนิม
77.นำมะรุมไปทำเป็นอาหารเพื่อรับประทานเป็นผักอย่างเช่น แกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม ส่วนดอกมะรุมลวกรับประทานกับน้ำพริก ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย
78.นำมาแปรรูปเป็น “มะรุมแคปซูล”
79.นำมาสกัดเป็นน้ำมันมะรุม ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่หลากหลาย

คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุมต่อ 100 กรัม 

  • พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
  • ใยอาหาร 3.2 กรัม
  • ไขมัน 0.20 กรัม
  • โปรตีน 2.10 กรัม
  • น้ำ 88.20 กรัม
  • วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม 1%
  • วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม 16%
  • วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม 9%
  • วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม 11%
  • วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม 170%
  • ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม 12%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม 5%

 การปลูกมะรุม

ทำได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง
1. การปลูกด้วยเมล็ด
• การเตรียมดิน
     ดินที่ใช้สำหรับการเพาะเมล็ด เตรียมได้ด้วยการนำดินร่วนผสมกับวัสดุการเกษตร อัตราส่วน 1:1 หรือ 2:1 ซึ่งส่วนมากนิยมผสมกับแกลบดำ และปุ๋ยคอก
• การเพาะเมล็ด
     บรรจุดินเพาะเมล็ดที่คลุกเคล้าส่วนผสมที่เข้ากันแล้วใส่ถุงเพาะ ขนาด 4×6 นิ้ว จัดวางเป็นแถวในโรงเรือนหรือในที่ร่มที่มีแสงแดดรำไร เมล็ดที่ใช้ประมาณ 1-2 เมล็ด/ถุง โดยการใช้นิ้วจิ้มหน้าดินปากถุง ลึก 1-2 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ด พร้อมกลบหน้าหลุมด้วยดินบนเล็กน้อย หลังจากนั้นให้รดน้ำให้ชุ่ม และให้น้ำ 1-2 ครั้ง เพียงเล็กน้อยทุกวัน ประมาณ 7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก
• วิธีการปลูก
     กล้ามะรุมที่มีอายุประมาณ 60 วัน หรือมีลำต้นสูงประมาณ 15-30 เซนติเมตร ควรนำออกปลูกได้ ซึ่งสามารถปลูกในที่ว่างหัวไร่ปลายนาหรือสวนหลังบ้าน
ก่อนปลูกต้องขุดหลุมลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร หรือขนาดที่พอดีกับถุงเพาะกล้า และรองด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 0.5-1 กก./หลุม คลุกกับดินล่างให้เข้ากันก่อนปลูก
หากปลูกตั้งแต่ 2 ต้น ขึ้นไป ควรให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 5-10 เมตร
2. การปักชำ
เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม แต่มีการปลูกบ้างเพื่อให้ได้ต้นที่มีขนาดเล็ก เตี้ย ด้วยการเลือกกิ่งมะรุมที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ขนาดประมาณนิ้วมือ ตัดยาวประมาณ 30 ซ.ม. โดยให้กิ่งมีตายอด 2-5 ตา แต่ไม่ควรให้มีใบติด แล้วนำไปปักชำในถุงเพาะชำที่เตรียมด้วยดินข้างต้น และรดน้ำให้ชุ่ม 1-2 ครั้ง/วัน ในปริมาณเพียงทำให้ดินชุ่มเท่านั้น ประมาณ 10-20 วัน ตายอดจะเริ่มแตกยอดใหม่ จนกล้าตั้งต้นได้ประมาณ 2 เดือนจึงนำลงปลูกในแปลง

การเก็บเกี่ยว

• การเก็บฝัก
มะรุมมะรุมที่โตเต็มจนให้ฝักได้มักมีลำต้นค่อนข้างสูง วิธีการเก็บฝักจะใช้ไม้ยาวๆ โดยผ่าปลายไม้เป็น 2 แฉก และนำกิ่งไม้ขัดที่ร่อง นำขึ้นไปเกี่ยวที่ขั้วฝัก และบิดกิ่งหรือขั้วให้ขาด วิธีนี้ เป็นวิธีพื้นบ้านที่ทำให้ฝักมะรุมไม่เสียหาย
• การเก็บใบ และยอดอ่อน
การเก็บใบ และยอดอ่อนหากเป็นต้นที่สูงจะใช้ไม้ในลักษณะเดียวกันกับการเก็บฝักบิดก้านยอดหรือกิ่งให้ขาด แต่หากเป็นต้นขนาดเล็กหรือต้นที่มีการตัดติ่งกิ่งให้เตี้ย สามารถเก็บด้วยมือเด็ดหรือใช้มีดคมตัดก้านยอดหรือก้านใบจะสะดวกกว่า
 -----------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://medthai.com 
https://th.wikipedia.org
http://puechkaset.com
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น