ลูกหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morus alba Linn.)
ไม้พุ่มขนาดกลาง เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีนตอนใต้ แถบเทือกเขาหิมาลัย แต่ภายหลังได้มีกรนำเข้ามาปลูกในอินโดจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2.5 เมตร บางพันธุ์สูงได้ประมาณ 3-7 เมตร แตกกิ่งก้านไม่มากนัก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่าง ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบสากคาย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร หูใบรูปแถบแคบปลายแหลม ยาว 0.2-0.5 เซนติเมตร ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรส หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ ใบใช้เลี้ยงตัวไหม วัวควายที่กินใบหม่อนทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแดง สีขาวปนสีน้ำตาล หรือสีเทาปนขาว ส่วนเปลือกรากเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเหลือแดง มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว
พบได้ทั่วไปในป่าดิบ ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือครับ
คุณค่าทางโภชชนาการ ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 43 กิโลแคลอรี่คาร์โบไฮเดรต 9.8 กรัม
น้ำตาล 8.1 กรัม
ใยอาหาร 1.7 กรัม
ไขมัน 0.39 กรัม
โปรตีน 1.44 กรัมMulberry
เถ้า 0.69 กรัม
วิตามินเอ 25 หน่วยสากล
เบต้าแคโรทีน 9 ไมโครกรัม
ลูทีน และ ซีแซนทีน 136 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.029 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี2 0.101 มิลลิกรัม (8%)
วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี6 0.05 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี9 6 ไมโครกรัม (2%)
วิตามินซี 36.4 มิลลิกรัม (44%)
วิตามินอี 0.87 มิลลิกรัม
วิตามินเค 7.8 ไมโครกรัม
โคลีน 12.3 มิลลิกรัม (3%)
แคลเซียม 39 มิลลิกรัม (4%)
ธาตุเหล็ก 1.85 มิลลิกรัม (14%)
แมกนีเซียม 18 มิลลิกรัม (5%)
ฟอสฟอรัส 38 มิลลิกรัม (5%)
โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม (4%)
โซเดียม 10 มิลลิกรัม (1%)
สังกะสี 0.12 มิลลิกรัม (1%)
ทองแดง 0.06 มิลลิกรัม
ซีลีเนียม 0.6 ไมโครกรัม
ประโยชน์
1.ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระงับประสาท (ใบ)2.ใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (ใบ)
3.ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น (กิ่ง)
4.ช่วยบำรุงหัวใจ (ผล)
5.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
6.นำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ (ผล)
7.ช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ขับลมร้อน ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการกระหายน้ำ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น (ผล)
8.เป็นยาช่วยขับลมร้อน(ใบ)
9.ใช้เป็นยาแก้ไอร้อนเนื่องจากถูกลมร้อนกระทบ (ใบ)
10.ช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
11.ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ใบ)
12.ใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด แก้ไอร้อนไอหอบ (เปลือกราก)
13.เป็นยาขับเสมหะ (เมล็ด)
14.ช้อมหรือกลั้วคอแก้อาการเจ็บคอ คอแห้ง แก้ไอ (ใบ)
15.นำมาตากแห้งต้มผสมกับน้ำผึ้ง มีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจและการมีน้ำสะสมในร่างกายอย่างผิดปกติ (ราก)
16.ยอดหม่อนนำมาต้มกับน้ำดื่มและล้างตาเป็นยาบำรุงตา (ยอด)
17.บำรุงสายตา (ผล)
18.ช่วยทำให้เลือดเย็นและตาสว่าง (ใบ)
19.ใบแก่นำมาตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก (ใบแก่)
20.ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เปลือกรากประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น
21.นำมาทำเป็นชาเขียวใช้ชงกับน้ำดื่มก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน นอกจากนี้ผลก็มีสรรพคุณรักษาเบาหวานได้เช่นกัน (ราก,เปลือกราก,ใบ,ผล)
22.ใบอ่อนหรือแก่นำมาทำเป็นชาเขียว ใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยลดไขมันในเลือด (ใบ)
23.ช่วยขับน้ำในปอด (เปลือกราก)
24.ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยจัดความร้อนในปอด และกระเพาะอาหาร ช่วยขจัดการหมักหมมในกระเพาะอาหารและเสลดในปอด (กิ่ง)
25.ช่วยแก้อาการท้องผูก (ผล)
26.ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาเย็น ยาระบายอ่อน ๆ และมีเมล็ดที่ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร (ผล)
27.เป็นยาถ่าย ยาระบายเช่นกัน (เปลือกต้น)
28.ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (เปลือกต้น)
29.รากช่วยขับพยาธิ (ราก)
30.เป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกราก)
31.กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง มีกลิ่นฉุนอันเกิดจากความร้อนภายใน (กิ่ง)
32.ช่วยบำรุงตับและไต (ผล)
33.เป็นยาสมาน (ราก)
34.ใบนำมาอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าว ใช้วางบนแผลหรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด (ใบ)
35.ใบใช้ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอกรักษาแผลจากการนอนกดทับ (ใบ)
36.ใบใช้เป็นยาแก้อาการติดเชื้อ (ใบ)
37.ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา (เปลือกราก)
38.ช่วยแก้ข้อมือข้อเท้าเกร็ง แก้โรคปวดข้อ ไขข้อ (ผล)
39.ช่วยแก้แขนขาหมดแรง (ราก)
40.ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ (ผล)
41.ประเทศจีนจะใช้เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ และผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไอ หืด วัณโรคปอด ขับปัสสาวะ การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ และโรคปวดข้อ (เปลือกราก,กิ่งอ่อน,ใบ,ผล)
วิธีการปลูกมัลเบอร์รี
การปลูกมัลเบอร์รีควรเริ่มจากการหาต้นพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยจะมีหลากหลายพันธุ์ที่นิยมปลูกแต่พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยก็คือ กำแพงแสน 84 บุรีรัมย์ 60 เชียใหม่60 ซึ่ง 3 พันธุ์นี้เหมาะสำหรับพื้นที่แลภูมิอากาศของประเทศไทย
เพราะได้มีการพัฒนาจากสถานบันเกษตรต่าง ๆอย่างต่อเนื่อง
-เมื่อเลือกต้นพันธุ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วควรเตรียมแปลงปลูกด้วยการใส่ปุ๋ยหมักในแปลงปลูกพร้อมวัดระยะในการปลูกให้ได้ประมาณ 4 x 4 เมตร
-หลังจากนั้นก็ขุดหลุดโดยใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ลองก้นหลุมพร้อมปุ๋ยคอกก่อนที่จะนำมาปลูกลงหลุม (ปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับคนที่ปลูกต้นมัลเบอร์รีในกระถางก็คือต้นมัลเบอร์รีจะไม่เจริญเติบโต สาเหตุมาจากการที่รากของต้นขดตัวเป็นกระจุกเราควรแยกออกมาใส่กระถางที่ใหญ่ขึ้นและตกแต่งกิ่งก้านเพื่อให้ต้นมัลเบอร์รีแตกยอดใหม่ขึ้นมา)
การดูแล (ไม่ต้องดูแลมากและสามารถปลูกได้ทุกที่ของประเทศไทย)
-หลังจากปลูกได้ประมาณ 6-12 เดือน ตัดแต่งกิ่งของต้น มัลเบอร์รี ให้เหลือเพียงกิ่งเดียวไว้เป็นต้นตอ
-หลังจากนั้นจะมีกิ่งใหม่แตกยอดออกมาเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไว้กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ก็ตัดทิ้งไป
-ต้นมัลเบอร์รีจะให้ผลผลิตได้เต็มที่เมื่อมีอายุครบ 2 ปี ซึ่งระหว่างนั้นเราควรที่จะบำรุงรักษาด้วยการใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยสูตรอย่างสม่ำเสมอ ถ้าต้นมัลเบอร์รีมีความสมบูรณ์จะให้ผลผลิต ประมาณ 1.5-35 กิโลกรัมหรือประมาณ 750-1,850 ผลต่อครั้งต่อต้นเลยทีเดียว
ลักษณะการปลูก
ให้ทำการโน้มกิ่งเข้าหากัน (ทำเป็นค้างหรือซุ้ม) เพื่อง่ายต่อการเก็บเกี่ยว
-------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://medthai.com
http://www.thaiarcheep.com
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://medthai.com
http://www.thaiarcheep.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น