วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

ม่อนไข่ หรือเซียนท้อ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pouteria campechiana)

ม่อนไข่ หรือเซียนท้อ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pouteria campechiana)

     จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาว ๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ (ประเทศเบลีซ, กัวเตมาลา, คอสตาริกา, เอลซัลวาดอร์, ฮอนดูรัส, ปานามา, นิการากัว) ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 11.25-28 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร ใบเป็นมันและบาง ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7.5-12.5 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน เปลือกผลบาง เนื้อในผลเป็นสีเหลืองสดน่ารับประทาน เนื้อมีลักษณะเหนียวคล้ายกับแป้งทำขนม เนื้อนิ่มคล้ายกับไข่แดง (จึงเป็นที่มาของชื่อ Egg fruit) ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ และมีลักษณะเป็นรูปรีสีดำ รสหวาน

คุณค่าทางโภชนาการ ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 138.8 กิโลแคลอรี
ท้อเขมรโปรตีน 1.68 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 36.69 กรัม
ไขมัน 0.13 กรัม
เส้นใย 0.10 กรัม
น้ำ 60.6 กรัม
เถ้า 0.90 กรัม
แคโรทีน (โปรวิตามินเอ) 0.32 มิลลิกรัม
วิตามินบี 1 0.17 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.0.1 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 3.72 มิลลิกรัม
วิตามินซี 58.1 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 26.5 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 37.3 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.92 มิลลิกรัม
ทริปโตเฟน 28 มิลลิกรัม
เมไธโอนีน 13 มิลลิกรัม
ไลซีน 84 มิลลิกรัม

ประโยชน์และสรรพคุณ

1.เปลือกของต้นม่อนไข่ใช้เป็นยารักษาอาการไข้ ตัวร้อน (เปลือกต้น)
2.ผลสุกใช้รับประทาน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)
3.เมล็ดใช้เป็นยาสำหรับช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย (เมล็ด)
4.ช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)
5.รับประทานเป็นผลไม้สด อร่อย ชาวฟลอริดานิยมรับประทานร่วมกับเกลือ พริกไทย มายองเนส หรือน้ำมะนาว
6.ใช้ทำเป็นขนมได้ เช่น แพนเค้ก แยม คัสตาร์ด ทาร์ต ใช้อบให้สุก หรือนำมาใช้ผสมกับนมหรือโยเกิร์ต เป็นต้น
7.เนื้อไม้มีความละเอียดและแข็งแรง สามารถนำมาใช้ทำเป็นไม้กระดานหรือใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ได้

การปลูกขยายพันธุ์ม่อนไข่

ม่อนไข่สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ดินร่วนปนทรายจะเติบโตได้ดี ปลูกในฤดูฝนจะดี การปลูกโดยใช้การเพาะเมล็ด ให้ต้นกล้ามีอายุประมาณ 3 เดือน แล้วนำมาปลูกลงในแปลง ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 4×6 เมตร

การดูแลรักษาม่อนไข่

ม่อนไข่ชอบระบายน้ำดี ชอบแสงแดดเพียงพอ ต้องให้น้ำเพียงพอ ระบายน้ำดี ไม่แฉะเกินไป ต้องรดน้ำเช้าเย็น เมื่อม่อนไข่เติบโตขึ้นก็เว้นการให้น้ำได้ ปลูกในฤดูฝนจะดี

การเก็บเกี่ยวผลผลิตม่อนไข่

ม่อนไข่จะให้ผลผลิตใช้เวลา ประมาณ 2-3 ปี หลังปลูกลงแปลง จะออกผลและจะมีลูกออกตามสายพันธุ์ เมื่อผลสุกเต็มที่จะมีสีเหลืองอ่อน ให้ใช้กรรไกรตัดขั้ว แล้วต้องระวังอย่าทำหล่น อาจทำให้ผลเสียหายได้

การเก็บรักษาม่อนไข่

ม่อนไข่มาล้างน้ำให้สะอาด นำมาวางไว้ในที่อากาศถ่ายเท จะเก็บไว้ได้นาน แล้วนำมาพักบ่มไว้ เพื่อให้มีรสชาติหวานมันอร่อยยิ่งขึ้น

----------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://medthai.com
https://www.thai-thaifood.com

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

อะเซโลรา เชอร์รี่ หรือ เชอร์รี่ไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Malpighia punocifolia L.)

อะเซโลรา เชอร์รี่ หรือ เชอร์รี่ไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Malpighia punocifolia L.)

     เป็นพืชเขตร้อน (tropical to sub-tropical) มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก (West Indies) แถบทะเลแคริบเบียน โดยพบทางตอนเหนือของอเมริกาใต้ เช่น เม็กซิโก บาฮามาส ทรินิเดด คิวบา จาไมก้า บราซิล เปอร์โตริโก และแผ่ขยายไปจนถึงอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ เชื่อกันว่ามีการนำจากประเทศคิวบาไปปลูกที่รัฐฟลอริดา อเมริกา ในค.ศ. 1887-1888 ก่อนที่จะมีการนำไปปลูกที่ประเทศเปอร์โตริโกก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีการนำไปปลูกทั่วโลก เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดีย เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ สูงประมาณ 6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร มีขนอ่อนเล็กๆที่กิ่ง มีดอกสีชมพู ถึงสีม่วงอ่อน(ลาเวนเดอร์) ผลของอะเซโลรา เชอร์รี่อาจเป็นผลเดี่ยว หรือเป็นช่อประมาณ 2-3 ลูก มีลักษณะแป้นถึงกลม คล้ายเชอร์รี่ แต่มี 3 หยัก ขนาดกว้างประมาณ 1.25-2.5 เซนติเมตร ผิวมันบาง สีแดงสด เนื้อชุ่มน้ำสีส้ม มีรสเปรี้ยว หรืออมเปรี้ยวจนเกือบหวาน มีกลิ่นคล้ายแอปเปิ้ล ใน 1 ผลจะมี 3 เมล็ด เนื่องจากผลของอะเซโลรา เชอร์รี่มีผิวที่ค่อนข้างบาง จึงทำให้ช้ำง่าย และเสื่อมสภาพเร็ว หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะเกิดกระบวนการหมักอย่างรวดเร็ว (ประมาณ 3-5 วัน) และถ้าไม่เก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ (7°c) จะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้ง่าย โดยถ้าต้องการเก็บไว้นานๆ ต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า -12°c จึงนิยมรับประทานผลสด หรือนำไปทำแยม เยลลี่ ไซรัป น้ำผลไม้ และก็มีการนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ เช่น ผงขัดผิว สบู่/เจลล้างหน้า หรือเป็นส่วนผสมในครีมและเครื่องสำอางต่างๆ เป็นต้น

คุณประโยชน์ ของ อะเซโรลา เชอร์รี่

1. ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน
2. ทำให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์ ช่วยในการเสริมสร้างคอลลาเจน จึงช่วยให้แผลในร่างกายหายเร็วขึ้น และที่สำคัญยังทำให้ผิวกระชับ เต่งตึง ลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัย รวมถึงทำให้รอยเหี่ยวย่นจากวัยลดลงได้ด้วย
3. ป้องกันมะเร็ง โดยมีสารที่ยับยั้งการก่อนตัวของเซลล์มะเร็ง ทั้งยังช่วยยับยั้งเอ็นไซม์ที่ทำให้มะเร็งมีการกระจายตัวอีกด้วย
4. บรรเทาโรคเบาหวาน ช่วยชะลอการย่อยคาร์โบไฮเดรต และการดูดซึมกลูโคส
5. มีวิตามินซี ซึ่งดูดซึมได้ดีกว่าวิตามินซีทั่วไปถึงเกือบสองเท่า ทำให้วิตามินซีจากอะเซโรลาเชอร์รี่ในปริมาณเท่ากันกัน มีประโยชน์มากกว่าวิตามินซีทั่วไป
6. เสริมสร้างภูมิต้านทาน มีระดับของเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นในเลือด ซึ่งเม็ดเลือดขาวมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันในการกำจัดเชื้อโรคจากร่างกาย
7. ฆ่าเชื้อรา ซึ่งทำให้ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราตามผิวหนัง หรือในส่วนต่างๆของร่างกาย

ปริมาณสารอาหารในส่วนที่กินได้ของอะเซโลรา เชอร์รี่ 100 กรัม 

พลังงาน 59 แคลอรี่ 
ความชื้น 81.9-91.0 กรัม 
โปรตีน 0.68-1.8 กรัม 
ใยอาหาร 0.6-1.2 กรัม 
ไขมัน 0.18-1 กรัม 
คาร์โบไฮเดรต 6.98-14.0 กรัม 
เถ้า 0.77-0.82 กรัม

แคลเซียม 8.2-34.6 มิลลิกรัม 
ฟอสฟอรัส 16.2-37.5 มิลลิกรัม 
เหล็ก 0.17-1.11 มิลลิกรัม 
แคโรทีน 0.003-0.0408 มิลลิกรัม 
วิตามินเอ 408-1000 มิลลิกรัม 
กรดโฟลิก 13.7 ไมโครกรัม 
วิตามินบี 1 0.024-0.04 มิลลิกรัม 
วิตามินบี 2 0.038-0.079 มิลลิกรัม 
ไนอะซิน 0.34-0.526 มิลลิกรัม 
วิตามินซี (ขึ้นกับสายพันธุ์) 

ผลดิบสีเขียว 4500 มิลลิกรัม 
ผลกึ่งสุก 3300 มิลลิกรัม 
ผลสุก 2000 มิลลิกรัม 
เฉลี่ยทุกสายพันธุ์ 1500 มิลลิกรัม 
 

วิธีการปลูก

     ใส่ดินดำ 1 ส่วน แกลบดิบ 2 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน ลงในภาชนะที่จะทำการปลูก จากนั้นนำต้นกล้าหรือเมล็ดลงปลูก รดน้ำให้ดินชื้นพอหมาดๆ อย่าลดมากจนเกินไป จากนั้นให้หมั่นใส่ปุ๋ยเป็นระยะๆ หรือประมาณ 15 วันครั้ง โดยใช้เป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยมูลสัตว์ และควรหมั่นดูแลรักษาไม่ให้แมลงรบกวน เพียงเท่านี้เมื่อเวลาผ่านไปคุณก็จะได้ต้นเชอรี่ที่สมบูรณ์แข็งแรง



  -----------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://sites.google.com
http://www.farmthailand.com

วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

ถั่วพู (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC.)

    

  ถั่วพู (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC.) 

     เป็นพืชล้มลุก ดอกสีขาวอมม่วง ผลเป็นฝักแบนยาวมี 4 ปีก ความยาวของฝักประมาณ 3-4 นิ้ว ภายในมีเมล็ดกลมเรียบ นิยมนำถั่วพูมาประกอบอาหารประเภทยำหรือกินสด ถั่วพูเป็นผักที่เสียเร็ว เหี่ยวง่ายและเกิดสีน้ำตาลเร็ว เก็บได้ไม่นาน คุณค่าทางอาหาร ถั่วพูมีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ซี อี บี1 บี2 ไนอะซิน สรรพคุณทางยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้ ในอาหารไทยนำฝักอ่อนมาลวก กินกับน้ำพริก ยำ หั่นใส่ในแกงส้ม แกงป่าหรือกินกับขนมจีน หั่นผสมในทอดมัน ยอดอ่อนและดอกใช้จิ้มน้ำพริก ใบอ่อนทำสลัดหรือใส่ในแกงจืด เมล็ดแก่คั่วให้สุกรับประทานได้ หัวแก่ใช้เชื่อมเป็นของหวานหรือเผารับประทานเช่นเดียวกับมันเทศหรือมันสำปะหลัง ในพม่า นำหัวถั่วพูไปต้มจิ้มน้ำจิ้ม กินเป็นอาหารว่าง ใบอ่อนกินเป็นสลัด ในปาปัวนิวกินีนำหัวถั่วพูไปห่อใบตองหรือใบไผ่แล้วย่างรับประทาน ในอินโดนีเซียนำเมล็ดถั่วพูไปทำเทมเป้เช่นเดียวกับถั่วเหลือง หัวถั่วพูนำมาสับ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มต่างน้ำ เป็นยาบำรุงกำลัง

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัม

ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี่ 
น้ำ 93.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม
โปรตีน 2.1 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
เส้นใย 1.2 กรัม
แคลเซียม 5 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม
วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม
วิตามินซี 32 มิลลิกรัม

 ประโชยน์

1.ช่วยทำให้การดูดซึมของแคลเซียมเป็นไปได้ด้วยดี
2.ช่วยป้องกันและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม
3.ฝักอ่อนถั่วพูช่วยบำรุงร่างกาย
4.ช่วยลดคอเลสเตอรอล
5.ใช้เป็นอาหารได้แก่ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน รสมัน (ใช้กินเป็นผัก) และหัวใต้ดิน (ใช้กินเป็นอาหารแห้ง)
6.เมล็ดแก่มีน้ำมันอยู่ร้อยละ 16-18 สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันพืชสำหรับใช้ปรุงอาหารได้
7.ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
8.ใช้ในการรักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
9.หัวใต้ดินนำมาเผาหรือนึ่งกินช่วยบำรุงกำลัง หรือจะใช้รากถั่วพูใช้ผสมกับสมุนไพรและน้ำดอกไม้ใช้เป็นยาชูกำลัง
10.ช่วยบำรุงกระดูกและฟันเนื่องจากมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง
11.ใบถั่วพูช่วยแก้อาการอาเจียน
12.ฝักมีเส้นใยอาหารสูง จึงช่วยระบบขับถ่ายให้ทำงานอย่างเป็นปกติ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก
13.รากถั่วพูช่วยแก้โรคลมพิษกำเริบ ทำให้คลั่งเพ้อ 
 

การปลูกและขยายพันธุ์

     ถั่วพูเป็นพืชสวนครัวที่ปลูกดูแลรักษาง่าย ปลูกได้ตลอดทั้งปี ถั่วพูเป็นพืชที่ชอบดินร่วนซุย เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด นิยมปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์
1.ปลูกลงในแปลงดินที่เตรียมไว้
2.นำเมล็ดถั่วพูไปแช่ในน้ำอุ่นไว้
3.นำผ้าขาวบางมาห่อเมล็ดถั่วพูแล้วนำไว้ในบริเวณที่มีความชื้นสูง เป็นเวลาประมาณ 3 คืน
4.นำเมล็ดพันธุ์ของถั่วพู ประมาณ 3-4 เมล็ด ใส่ลงในลงหลุมปลูก กลบดินให้แน่นพอประมาณ ให้มีระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 2 เมตร และระยะระหว่างแถว 1 เมตร
5.เมื่อถั่วพูมีอายุได้ประมาณ 10 วัน ให้ถอนกล้าที่ไม่สมบูรณ์ออก ให้เหลือแค่สองต้น
6.เมื่อถั่วพูมีอายุได้ประมาณ 20 วันหลังจากปลูก หรือเริ่มมีใบจริง 4-5 ใบ แล้วจะเริ่มทอดยอดหรือเลื้อย ให้เริ่มทำค้าง ปักแบบตั้งตรงเดี่ยว การปักไม้ค้างห้างถั่วพู ควรเป็นเสาที่แข็งแรง 1 หลักต่อหลุม ยาวประมาณ 2 เมตร ในระยะแรกต้องมีการจับยอดถั่วพู มาพันไม้ค้างไว้ แล้วใช้เชือกผูกเถาพันหลักค้าง

วิธีดูแลรักษาถั่วพู

     ถั่วพูเป็นพืชที่ชอบน้ำ ต้องระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแดด ต้องดูแลรดน้ำเสมอ และโดนแดดได้ตลอดวัน ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้ถั่วพูโตได้เร็ว

การเก็บผลผลิตถั่วพู

     ถั่วพูจะปลูกเพื่อรับประทานฝักอ่อนเป็นหลัก ซึ่งมักจะเก็บฝักในระยะที่ฝักยังเป็นสีเขียวอ่อนหรือมีอายุหลังการปลูกประมาณ 140-160 วัน หรือหลังจากติดฝักแล้ว 20-40 วัน ซึ่งจะต้องทยอยเก็บในทุกๆวัน เพราะถั่วพูจะมีฝักที่เติบโตไม่พร้อมกัน ควรเก็บเกี่ยวถั่วพูในตอนเช้า หรือตอนเย็นเพราะกลีบถั่วพู เป็นกลีบที่บาง ถ้าเก็บตอนสายหรือแดดร้อนมาก จะทำให้กลีบถั่วพูช้ำไม่สวย และนำใบตองกล้วย หรือถุงพลาสติกรองตะกร้าไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบถั่วพูช้ำ

     
-------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://medthai.com
https://th.wikipedia.org
http://guru.sanook.com
https://www.thai-thaifood.com

มะรุม (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.)

    มะรุม (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.)

เป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น และยังมีในเขตเอเชียไมเนอร์และแอฟริกา เป็นไม้ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง งอกเร็ว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ต้นกล้าสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีประโยชน์อเนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 - 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 - 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.

ประโยชน์ของมะรุม

1.สรรพคุณของมะรุมช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ไม่ให้หยาบกร้าน
2.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัย (น้ำมันมะรุม)
3.ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
4.ช่วยรักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ
5.ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย (ฝัก)
6.มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็ง (ใบ, ดอก, ฝัก, เมล็ด, เปลือกของลำต้น)
7.ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
8.ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้อาการแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น
9.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
10.ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
11.มะรุมลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ, ฝัก)
12.ใช้รักษาโรคหัวใจ (ราก)
13.มะรุมลดน้ำตาล ช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล
14.ใช้รักษาโรคหอบหืด (Asthma) (ยาง)
15.ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
16.ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่ต่ำลงของผู้ป่วยเอดส์
17.ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ดอก)
18.ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ราก)
19.ช่วยคุมธาตุอ่อน ๆ (เปลือกของลำต้น)
20.แก้ลมอัมพาต (เปลือกของลำต้น)
21.ใช้ขับน้ำตา (ดอก)
22.ใช้บำรุงสุขภาพและรักษาดวงตาให้สมบูรณ์
23.ช่วยรักษาโรคตาได้เกือบทุกโรค อย่างเช่น โรคตาต้อ ตามืดมัว เป็นต้น
24.ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคโพรงจมูกอักเสบ
25.น้ำมันมะรุมใช้นวดศีรษะ ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ แก้อาการคันหนังศีรษะ ลดผมร่วง (น้ำมันมะรุม)
26.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
27.ใช้แก้ไข้และถอนพิษไข้ (ใบ, ยอดอ่อน, ฝัก, เมล็ด)
28.ใช้แก้อาการไข้หัวลมหรืออาการไข้เปลี่ยนฤดู (ดอก)
29.ช่วยบรรเทาและรักษาอาการหวัด (เมล็ดมะรุม)
30.ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังให้ดีขึ้น (เมล็ดมะรุม)
31.ช่วยบรรเทาอาการและลดสิวบนใบหน้า (น้ำมันมะรุม)
32.ช่วยลดจุดด่างดำจากแสงแดด (น้ำมันมะรุม)
33.ใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
34.ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ยาง)
35.ช่วยแก้อาการปวดหู (Earache) (ยาง)
36.น้ำมันมะรุมใช้หยอดหูเพื่อป้องกันและฆ่าพยาธิในหู รักษาโรคหูน้ำหนวก เยื่อบุหูอักเสบ
37.ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ
38.ช่วยรักษาแผลในปากหรือแผลจากโรคปากนกกระจอก
39.นำเปลือกของลำต้นมาเคี้ยวกินเพื่อช่วยย่อยอาหาร (เปลือกของลำต้น)
40.ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ (เปลือกของลำต้น)
41.เปลือกของลำต้นมีสรรพคุณช่วยในการคุมกำเนิด (เปลือกของลำต้น)
42.ช่วยบำรุงและรักษาปอดให้แข็งแรง และรักษาโรคปอดอักเสบ
43.รับประทานเมล็ดมะรุมวันละ 1 เมล็ดก่อนนอน ช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างปกติและสม่ำเสมอ (เมื่อขับถ่ายเป็นปกติแล้วควรหยุดรับประทาน)
44.ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ อาการท้องเสีย ท้องผูก
45.ช่วยรักษาและขับพยาธิในลำไส้ (เมล็ดมะรุม)
46.ช่วยในการขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก)
47.ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
48.ช่วยรักษาโรคไขข้อ (Rheumatism) (ราก)
49.ช่วยบรรทาอาการของโรคเกาต์ บ้างก็ว่าสามารถใช้รักษาโรคเกาต์ได้
50.ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ
51.ช่วยรักษาโรครูมาติสซั่ม
52.ช่วยบำรุงและรักษาโรคตับ ไต
53.น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อตามบั้นเอวและขา
54.น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
55.ใช้แก้อาการปวดตามข้อ (เมล็ด)
56.แก้อาการบวม (ราก, เมล็ด)
57.ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนังและการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กทารก (น้ำมันมะรุม)
58.ช่วยรักษาบาดแผล แผลสดเล็ก ๆ น้อย ๆ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
59.ช่วยถอนพิษและลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย (น้ำมันมะรุม)
60.ใช้เป็นยาปฏิชีวนะ
61.ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ใบ, ดอก)
62.ใช้รักษาเชื้อราตามผิวหนัง ศีรษะ ตามซอกเล็บ โรคน้ำกัดเท้า (น้ำมันมะรุม)
63.น้ำมันมะรุมใช้ทารักษาหูด ตาปลา
64.ช่วยรักษาโรคเริม งูสวัด
65.ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้านจุลชีพ
66.ช่วยฆ่าเชื้อไทฟอยด์ (ยาง)
67.ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (syphilis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง (ยาง)
68.การรับประทานมะรุมในช่วงตั้งครรภ์จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ของเด็กทารก
69.ฝักมะรุมนำมาใช้เป็นไม้ตีกลองได้เหมือนกันนะ โดยเฉพาะในแถบอินเดีย
70.ใบสดนำมารับประทานได้ ส่วนใบแห้งนำมาทำเป็นผง
71.เมล็ดบางครั้งนำมาคั่วรับประทานเป็นถั่วได้
72.เมล็ดมะรุมเมื่อนำมาบดละเอียดสามารถนำไปใช้กรองน้ำได้ ทำให้น้ำตกตะกอนและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ 73.น้ำที่ได้จะค่อนข้างสะอาดและมีรสออกหวาน
74.น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสด นำมาใช้เป็นน้ำมันในการปรุงอาหาร
75.น้ำมันมะรุมนำมาใช้ในการปรุงอาหารชนิดเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนในภายหลัง
76.น้ำมันมะรุมนำมาใช้เป็นน้ำยาหล่อลื่นต่าง ๆ ประจำบ้านและช่วยป้องกันสนิม
77.นำมะรุมไปทำเป็นอาหารเพื่อรับประทานเป็นผักอย่างเช่น แกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม ส่วนดอกมะรุมลวกรับประทานกับน้ำพริก ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย
78.นำมาแปรรูปเป็น “มะรุมแคปซูล”
79.นำมาสกัดเป็นน้ำมันมะรุม ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่หลากหลาย

คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุมต่อ 100 กรัม 

  • พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
  • ใยอาหาร 3.2 กรัม
  • ไขมัน 0.20 กรัม
  • โปรตีน 2.10 กรัม
  • น้ำ 88.20 กรัม
  • วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม 1%
  • วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม 16%
  • วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม 9%
  • วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม 11%
  • วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม 170%
  • ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม 12%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม 5%

 การปลูกมะรุม

ทำได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง
1. การปลูกด้วยเมล็ด
• การเตรียมดิน
     ดินที่ใช้สำหรับการเพาะเมล็ด เตรียมได้ด้วยการนำดินร่วนผสมกับวัสดุการเกษตร อัตราส่วน 1:1 หรือ 2:1 ซึ่งส่วนมากนิยมผสมกับแกลบดำ และปุ๋ยคอก
• การเพาะเมล็ด
     บรรจุดินเพาะเมล็ดที่คลุกเคล้าส่วนผสมที่เข้ากันแล้วใส่ถุงเพาะ ขนาด 4×6 นิ้ว จัดวางเป็นแถวในโรงเรือนหรือในที่ร่มที่มีแสงแดดรำไร เมล็ดที่ใช้ประมาณ 1-2 เมล็ด/ถุง โดยการใช้นิ้วจิ้มหน้าดินปากถุง ลึก 1-2 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ด พร้อมกลบหน้าหลุมด้วยดินบนเล็กน้อย หลังจากนั้นให้รดน้ำให้ชุ่ม และให้น้ำ 1-2 ครั้ง เพียงเล็กน้อยทุกวัน ประมาณ 7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก
• วิธีการปลูก
     กล้ามะรุมที่มีอายุประมาณ 60 วัน หรือมีลำต้นสูงประมาณ 15-30 เซนติเมตร ควรนำออกปลูกได้ ซึ่งสามารถปลูกในที่ว่างหัวไร่ปลายนาหรือสวนหลังบ้าน
ก่อนปลูกต้องขุดหลุมลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร หรือขนาดที่พอดีกับถุงเพาะกล้า และรองด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 0.5-1 กก./หลุม คลุกกับดินล่างให้เข้ากันก่อนปลูก
หากปลูกตั้งแต่ 2 ต้น ขึ้นไป ควรให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 5-10 เมตร
2. การปักชำ
เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม แต่มีการปลูกบ้างเพื่อให้ได้ต้นที่มีขนาดเล็ก เตี้ย ด้วยการเลือกกิ่งมะรุมที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ขนาดประมาณนิ้วมือ ตัดยาวประมาณ 30 ซ.ม. โดยให้กิ่งมีตายอด 2-5 ตา แต่ไม่ควรให้มีใบติด แล้วนำไปปักชำในถุงเพาะชำที่เตรียมด้วยดินข้างต้น และรดน้ำให้ชุ่ม 1-2 ครั้ง/วัน ในปริมาณเพียงทำให้ดินชุ่มเท่านั้น ประมาณ 10-20 วัน ตายอดจะเริ่มแตกยอดใหม่ จนกล้าตั้งต้นได้ประมาณ 2 เดือนจึงนำลงปลูกในแปลง

การเก็บเกี่ยว

• การเก็บฝัก
มะรุมมะรุมที่โตเต็มจนให้ฝักได้มักมีลำต้นค่อนข้างสูง วิธีการเก็บฝักจะใช้ไม้ยาวๆ โดยผ่าปลายไม้เป็น 2 แฉก และนำกิ่งไม้ขัดที่ร่อง นำขึ้นไปเกี่ยวที่ขั้วฝัก และบิดกิ่งหรือขั้วให้ขาด วิธีนี้ เป็นวิธีพื้นบ้านที่ทำให้ฝักมะรุมไม่เสียหาย
• การเก็บใบ และยอดอ่อน
การเก็บใบ และยอดอ่อนหากเป็นต้นที่สูงจะใช้ไม้ในลักษณะเดียวกันกับการเก็บฝักบิดก้านยอดหรือกิ่งให้ขาด แต่หากเป็นต้นขนาดเล็กหรือต้นที่มีการตัดติ่งกิ่งให้เตี้ย สามารถเก็บด้วยมือเด็ดหรือใช้มีดคมตัดก้านยอดหรือก้านใบจะสะดวกกว่า
 -----------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://medthai.com 
https://th.wikipedia.org
http://puechkaset.com
 

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

ลูกหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morus alba Linn.)

ลูกหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morus alba Linn.)

     ไม้พุ่มขนาดกลาง เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีนตอนใต้ แถบเทือกเขาหิมาลัย แต่ภายหลังได้มีกรนำเข้ามาปลูกในอินโดจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2.5 เมตร บางพันธุ์สูงได้ประมาณ 3-7 เมตร แตกกิ่งก้านไม่มากนัก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่าง ใบสีเขียวเข้ม  ผิวใบสากคาย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร หูใบรูปแถบแคบปลายแหลม ยาว 0.2-0.5 เซนติเมตร ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้
ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรส หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ ใบใช้เลี้ยงตัวไหม วัวควายที่กินใบหม่อนทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแดง สีขาวปนสีน้ำตาล หรือสีเทาปนขาว ส่วนเปลือกรากเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเหลือแดง มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว
พบได้ทั่วไปในป่าดิบ ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือครับ

คุณค่าทางโภชชนาการ ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 43 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 9.8 กรัม
น้ำตาล 8.1 กรัม

ใยอาหาร 1.7 กรัม
ไขมัน 0.39 กรัม
โปรตีน 1.44 กรัมMulberry
เถ้า 0.69 กรัม
วิตามินเอ 25 หน่วยสากล
เบต้าแคโรทีน 9 ไมโครกรัม
ลูทีน และ ซีแซนทีน 136 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.029 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี2 0.101 มิลลิกรัม (8%)
วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี6 0.05 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี9 6 ไมโครกรัม (2%)
วิตามินซี 36.4 มิลลิกรัม (44%)
วิตามินอี 0.87 มิลลิกรัม
วิตามินเค 7.8 ไมโครกรัม
โคลีน 12.3 มิลลิกรัม (3%)
แคลเซียม 39 มิลลิกรัม (4%)
ธาตุเหล็ก 1.85 มิลลิกรัม (14%)
แมกนีเซียม 18 มิลลิกรัม (5%)
ฟอสฟอรัส 38 มิลลิกรัม (5%)
โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม (4%)
โซเดียม 10 มิลลิกรัม (1%)
สังกะสี 0.12 มิลลิกรัม (1%)
ทองแดง 0.06 มิลลิกรัม
ซีลีเนียม 0.6 ไมโครกรัม

ประโยชน์

1.ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระงับประสาท (ใบ)
2.ใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (ใบ)
3.ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น (กิ่ง)
4.ช่วยบำรุงหัวใจ (ผล)
5.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
6.นำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ (ผล)
7.ช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ขับลมร้อน ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการกระหายน้ำ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น (ผล)
8.เป็นยาช่วยขับลมร้อน(ใบ)
9.ใช้เป็นยาแก้ไอร้อนเนื่องจากถูกลมร้อนกระทบ (ใบ)
10.ช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
11.ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ใบ)
12.ใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด แก้ไอร้อนไอหอบ (เปลือกราก)
13.เป็นยาขับเสมหะ (เมล็ด)
14.ช้อมหรือกลั้วคอแก้อาการเจ็บคอ คอแห้ง แก้ไอ (ใบ)
15.นำมาตากแห้งต้มผสมกับน้ำผึ้ง มีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจและการมีน้ำสะสมในร่างกายอย่างผิดปกติ (ราก)
16.ยอดหม่อนนำมาต้มกับน้ำดื่มและล้างตาเป็นยาบำรุงตา (ยอด)
17.บำรุงสายตา (ผล)
18.ช่วยทำให้เลือดเย็นและตาสว่าง (ใบ)
19.ใบแก่นำมาตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก (ใบแก่)
20.ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เปลือกรากประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น
21.นำมาทำเป็นชาเขียวใช้ชงกับน้ำดื่มก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน นอกจากนี้ผลก็มีสรรพคุณรักษาเบาหวานได้เช่นกัน (ราก,เปลือกราก,ใบ,ผล)
22.ใบอ่อนหรือแก่นำมาทำเป็นชาเขียว ใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยลดไขมันในเลือด (ใบ)
23.ช่วยขับน้ำในปอด (เปลือกราก)
24.ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยจัดความร้อนในปอด และกระเพาะอาหาร ช่วยขจัดการหมักหมมในกระเพาะอาหารและเสลดในปอด (กิ่ง)
25.ช่วยแก้อาการท้องผูก (ผล)
26.ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาเย็น ยาระบายอ่อน ๆ และมีเมล็ดที่ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร (ผล)
27.เป็นยาถ่าย ยาระบายเช่นกัน (เปลือกต้น)
28.ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (เปลือกต้น)
29.รากช่วยขับพยาธิ (ราก)
30.เป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกราก)
31.กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง มีกลิ่นฉุนอันเกิดจากความร้อนภายใน (กิ่ง)
32.ช่วยบำรุงตับและไต (ผล)
33.เป็นยาสมาน (ราก)
34.ใบนำมาอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าว ใช้วางบนแผลหรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด (ใบ)
35.ใบใช้ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอกรักษาแผลจากการนอนกดทับ (ใบ)
36.ใบใช้เป็นยาแก้อาการติดเชื้อ (ใบ)
37.ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา (เปลือกราก)
38.ช่วยแก้ข้อมือข้อเท้าเกร็ง แก้โรคปวดข้อ ไขข้อ (ผล)
39.ช่วยแก้แขนขาหมดแรง (ราก)
40.ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ (ผล)
41.ประเทศจีนจะใช้เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ และผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไอ หืด วัณโรคปอด ขับปัสสาวะ การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ และโรคปวดข้อ (เปลือกราก,กิ่งอ่อน,ใบ,ผล)

วิธีการปลูกมัลเบอร์รี

     การปลูกมัลเบอร์รีควรเริ่มจากการหาต้นพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยจะมีหลากหลายพันธุ์ที่นิยมปลูก 
แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยก็คือ กำแพงแสน 84 บุรีรัมย์ 60 เชียใหม่60 ซึ่ง 3 พันธุ์นี้เหมาะสำหรับพื้นที่แลภูมิอากาศของประเทศไทย
เพราะได้มีการพัฒนาจากสถานบันเกษตรต่าง ๆอย่างต่อเนื่อง
-เมื่อเลือกต้นพันธุ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วควรเตรียมแปลงปลูกด้วยการใส่ปุ๋ยหมักในแปลงปลูกพร้อมวัดระยะในการปลูกให้ได้ประมาณ 4 x 4 เมตร
-หลังจากนั้นก็ขุดหลุดโดยใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ลองก้นหลุมพร้อมปุ๋ยคอกก่อนที่จะนำมาปลูกลงหลุม (ปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับคนที่ปลูกต้นมัลเบอร์รีในกระถางก็คือต้นมัลเบอร์รีจะไม่เจริญเติบโต สาเหตุมาจากการที่รากของต้นขดตัวเป็นกระจุกเราควรแยกออกมาใส่กระถางที่ใหญ่ขึ้นและตกแต่งกิ่งก้านเพื่อให้ต้นมัลเบอร์รีแตกยอดใหม่ขึ้นมา)

การดูแล (ไม่ต้องดูแลมากและสามารถปลูกได้ทุกที่ของประเทศไทย)
-หลังจากปลูกได้ประมาณ 6-12 เดือน ตัดแต่งกิ่งของต้น มัลเบอร์รี ให้เหลือเพียงกิ่งเดียวไว้เป็นต้นตอ
-หลังจากนั้นจะมีกิ่งใหม่แตกยอดออกมาเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไว้กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ก็ตัดทิ้งไป
-ต้นมัลเบอร์รีจะให้ผลผลิตได้เต็มที่เมื่อมีอายุครบ 2 ปี ซึ่งระหว่างนั้นเราควรที่จะบำรุงรักษาด้วยการใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยสูตรอย่างสม่ำเสมอ ถ้าต้นมัลเบอร์รีมีความสมบูรณ์จะให้ผลผลิต ประมาณ 1.5-35 กิโลกรัมหรือประมาณ 750-1,850 ผลต่อครั้งต่อต้นเลยทีเดียว

ลักษณะการปลูก
ให้ทำการโน้มกิ่งเข้าหากัน (ทำเป็นค้างหรือซุ้ม) เพื่อง่ายต่อการเก็บเกี่ยว

-------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก

https://medthai.com
 http://www.thaiarcheep.com

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

แครอท (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Daucus carota L.)

แครอท (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Daucus carota L.) 

     เป็นพืชในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง เป็นที่นิยมปลูกและรับประทานทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าดินสอไปจนถึงขนาดใหญ่ และมีหลากหลายสี เช่น สีเหลือง สีม่วง แต่ที่นิยมรับประทานนั้นจะเป็นแครอทสีส้มและยังจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอีกด้วย เนื่องจากแครอทอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังมีสารสำคัญคือสาร “ฟอลคารินอล” (falcarinol) ซึ่งช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง เป็นต้น สำหรับประโยชน์ของแครอทนั้นที่เด่น ๆ ก็เห็นจะเป็นการนำมาใช้ประกอบอาหารได้อย่างหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว ทั้งผัด ทอด แกง ต้ม ซุป สลัด ยำ ก็มีแครอทเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น และยังมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างน้ำแครอทปั่นอีกด้วย ยังไม่หมดเท่านี้สรรพคุณของแครอทที่ใช้เป็นยารักษาโรคก็ใช้รักษาได้อย่างหลากหลายเช่นกัน
ประโยชน์ของแครอทช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้สดใสเปล่งปลั่งช่วยป้องกันเซลล์ผิวไม่ให้ถูกทำลายได้ง่ายจากมลภาวะแสงแดดต่าง ๆช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายช่วยบำรุงกระดูก ฟัน เหงือก เล็บ ให้แข็งแรงยิ่งขึ้นมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
ช่วยสร้างสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้นช่วยยับยั้งต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงสรรพคุณแครอทช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไหลเวียนของเลือดช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนังประโยชน์ของแครอท ช่วยบำรุงเส้นผมช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤษ์ อัมพาต
ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลวช่วยบำรุงและรักษาสายตา รักษาโรคตาฟาง และต้อกระจกช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองและไทยรอยด์เป็นพิษช่วยย่อยอาหาร และช่วยแก้และบรรเทาท้องผูกแครอทมีสรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนสรรพคุณของแครอท ช่วยรักษาฝี แผลเน่าต่าง ๆนิยมนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวานใช้ทำเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพหรือน้ำแครอท หรือนำมาทำเป็นเค้กแครอทในด้านความงาม นำน้ำแครอทผสมมะนาว ทาผิวหน้าบำรุงผิวพรรณ ลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น สบู่แครอท เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัม

พลังงาน 41 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม
น้ำตาล 4.7 กรัม
เส้นใย 2.8 กรัม
ไขมัน 0.24 กรัม
โปรตีน 0.93 กรัม
วิตามินเอ 835 ไมโครกรัม
เบต้าแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม

ประโยชน์ของแครอท

1.ช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้สดใสเปล่งปลั่ง
2.ช่วยป้องกันเซลล์ผิวไม่ให้ถูกทำลายได้ง่ายจากมลภาวะแสงแดดต่าง ๆ
3.ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
4.ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน เหงือก เล็บ ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
5.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
6.ช่วยสร้างสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
7.ช่วยยับยั้งต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง
8.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
9.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
10.ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
11.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไหลเวียนของเลือด
12.ช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนัง
13.ช่วยบำรุงเส้นผม
14.ช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤษ์ อัมพาต
15.ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว
16.ช่วยบำรุงและรักษาสายตา รักษาโรคตาฟาง และต้อกระจก
17.ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองและไทยรอยด์เป็นพิษ
18.ช่วยย่อยอาหาร และช่วยแก้และบรรเทาท้องผูก
19.ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
20.ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน
21.ช่วยรักษาฝี แผลเน่าต่าง ๆ
22.นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน
23.ใช้ทำเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพหรือน้ำแครอท หรือนำมาทำเป็นเค้กแครอท
24.น้ำแครอทผสมมะนาว ทาผิวหน้าบำรุงผิวพรรณ ลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า
25.ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น สบู่แครอท 

การปลูก

การเตรียมกล้า ปลูกโดยหยอดเมล็ด
1.การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาวอัตราม 0-100 กรัม/ตร.ม. ไว้อย่างน้อย 14 วัน กำจัดวัชพืช ขึ้นแปลงกว้าง 1 ม.
2.ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 20-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดิน ปรับหน้าแปลงให้เรียบ
3.ขีดร่องลึก 1 ซม. ขวางแปลงห่างกันร่องละ 15 ซม.
4.หยอดเมล็ดที่ละเมล็ดระยะห่าง 1 ซม. กลบเมล็ดแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
5.การถอนแยก
ครั่งที่ 1 หลังหยอดเมล็ด 15-20 วัน (มีใบจริง 3-5 ใบ) เหลือระยะปลูก 3 ซม.
ครั้งที่ 2 หลังหยอดเมล็ด30-35 วัน (มีใบจริง 8-9 ใบ) เหลือระยะปลูก 5-8 ใบ
ข้อควรระวัง 
1.ช่วงแรกระวังมดคาบเมล็ดหรือแมลงกัดกินเมล็ด
1. การหยอดเมล็ดอย่าให้เมล็ดที่หยอดติดกัน ระยะห่างประมาณ 1 ซม.
2. ควรให้น้ำสม่ำเสมออย่าให้แฉะเกินไป
การดูแลรักษาแครอทในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การให้น้ำ หลังปลูกรดน้ำให้ชุ่ม และให้น้ำทุกวันสม่ำเสมอ แต่อย่าให้น้ำขัง หัวจะเน่า
การให้ปุ๋ย
1. หลังถอนแยกครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30-50 กรัม/ตร.ม. พร้อมกำจัดวัชพืช
2. หลังการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15-20 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 30-50 กรัม/ตร.ม. โรยในร่องลึก 2-3 ซม. ระหว่างแถวปลูก
ข้อควรระวัง
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของแครอทในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะหยอดเมล็ด-ถอนแยก ครั้งที่ 1 อายุ 15-20 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม
ระยะถอนแยก ครั้งที่ 2 อายุ 30-35 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน
ระยะลงหัว 35-100 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน, โรคหัวเน่า
ระยะเก็บเกี่ยว 100-120 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน, โรคหัวเน่า

การเก็บเกี่ยว

1. เมื่อมีอายุได้ 100-120 วัน
2. เก็บเกี่ยวโดยการขุดเมื่ออายุและขนาดเหมาะสม
3. ล้างรากให้สะอาด ผึ่งให้แห้งระวังอย่าให้ผิวถลอก

 -----------------------------------------------------
https://medthai.com
http://www.legendnews.net

วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

ดอกชมจันทร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea alba L.)



ดอกชมจันทร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea alba L.)

     ดอกชมจันทร์ ไม้เถา ไม่มีขน ลำต้นมียางใส ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 5-13 เซนติเมตร ยาว 8-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึก ก้านใบเรียว ยาว 5-18 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลิ่นหอม  บานตอนเช้าและพลบค่ำ ออกตามง่ามใบเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อ 2-5 ดอก เมื่อบานเต็มที่ กว้าง 10-13 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 1-20 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด อาจปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงแปลงโดยตรง หรือเพาะเป็นต้นกล้า ก่อนเพาะนำเมล็ดมาแช่ด้วยน้ำนาน 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จะทำให้งอกได้เร็วขึ้น เนื่องจากเมล็ดดอกชมจันทร์มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็ง เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วัน สามารถปลูกลงแปลงได้ นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วต้นดอกชมจันทร์ยังสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำส่วนของลำต้น  ซึ่งสามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ปลูกต้องระบายน้ำได้ดี เจริญเติบโตได้ในสภาพกลางแจ้งที่มีแสงแดด แปลงปลูกอาจจะยกแปลงขึ้นคล้ายกับแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง วิธีปลูกโดยขุดหลุมปลูกลึก 15-20 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัมต่อหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าลงปลูก ระยะปลูกที่ใช้คือ ระหว่างต้น 40-50 ซม. และระหว่างแถว 70-100 ซม. ในช่วง 1 เดือนแรก หลังปลูกควรมีการให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น้ำวันละครั้ง เมื่อต้นดอกชมจันทร์เริ่มแตกยอดอ่อนควรมีการทำค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้น โดยทำค้างคล้ายกับค้างถั่วฝักยาวหรือทำเป็นซุ้ม หลังปลูกประมาณ 2-3 เดือน ก็จะเริ่มออกดอก ต้นดอกชมจันทร์มีดอกสีขาวสวยงาม จะบานในเวลาตอนกลางคืน และมีกลิ่นหอม ในต่างประเทศ เช่น ในยุโรป และสหรัฐอเมริกาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ พบว่าเป็นผักที่มีไขมันต่ำมากและมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในต่างประเทศเช่น อเมริกา และยุโรป จะปลูกเป็นไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่นภาคใต้ และภาคอีสาน ได้เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหาร โดยนำดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือ นำมาลวกเพื่อจิ้มกับน้ำพริกรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัม

พลังงาน 34.91 กิโลแคลอรี
วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม

แคลเซียม 22.74 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม 
ฟอสฟอรัส 34.42 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 1.25 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินซี 0.09 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 136.11 มิลลิกรัม
โคเอนไซม์คิว 0.28 มิลลิกรัม 


ประโยชน์

1.มีสารต้านอนุมูลอิสระ
2.เป็นยาระบายอ่อนๆ มีไขมันต่ำ
3.ช่วยบำรุงสมอง
4.เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และป้องกันมะเร็ง
5.แก้ร้อนใน
6.บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน
7.ขับปัสสาวะ
8.บรรเทาริดสีดวงทวาร
9.สามารถช่วยบำรุงระบบประสาท ทำให้ผ่อนคลาย มีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ(เกสร)

วิธีการขยายพันธุ์

     ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด อาจปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงแปลงโดยตรง หรือเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า ก่อนเพาะเมล็ดมาแช่น้ำนาน 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จะทำให้งอกได้เร็วงอกได้เร็วขึ้น โดยใช้เวลานานประมาณ 7-14 วัน เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วันสามารถปลูกลงแปลงได้ นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดแล้ว ยังสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำส่วนของลำต้นได้เช่นกัน

วิธีการปลูก

     ต้นชมจันทร์สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ต้องระบายได้ดี เจริญเติบโตได้ในสภาพกลางแจ้งที่มีแสงแดด แปลงปลูกอาจยกแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนวิธีปลูกมีดังนี้
          1. ขุดหลุมปลูกลึก 15-20 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัม/หลุม
          2. นำต้นกล้าลงปลูก ระหว่างต้น 40-50 เซนติเมตร และระหว่างแถว 70-100 เซนติเมตร
          3. ในช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูก ควรมีการให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น้ำวันละครั้ง
          4. เมื่อต้นดอกชมจันทร์เริ่มแตกยอด ควรมีการทำค้าง คล้ายกับค้างถั่วฝักยาว หรือทำเป็นซุ้ม โดยหลังปลูกประมาณ 2-3 เดือนก็จะเริ่มออกดอก





 -------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
https://hilight.kapook.com
http://lifestyle-i-know.blogspot.com