วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

ลูกหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morus alba Linn.)

ลูกหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morus alba Linn.)

     ไม้พุ่มขนาดกลาง เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีนตอนใต้ แถบเทือกเขาหิมาลัย แต่ภายหลังได้มีกรนำเข้ามาปลูกในอินโดจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2.5 เมตร บางพันธุ์สูงได้ประมาณ 3-7 เมตร แตกกิ่งก้านไม่มากนัก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่าง ใบสีเขียวเข้ม  ผิวใบสากคาย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร หูใบรูปแถบแคบปลายแหลม ยาว 0.2-0.5 เซนติเมตร ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้
ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรส หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ ใบใช้เลี้ยงตัวไหม วัวควายที่กินใบหม่อนทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแดง สีขาวปนสีน้ำตาล หรือสีเทาปนขาว ส่วนเปลือกรากเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเหลือแดง มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว
พบได้ทั่วไปในป่าดิบ ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือครับ

คุณค่าทางโภชชนาการ ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 43 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 9.8 กรัม
น้ำตาล 8.1 กรัม

ใยอาหาร 1.7 กรัม
ไขมัน 0.39 กรัม
โปรตีน 1.44 กรัมMulberry
เถ้า 0.69 กรัม
วิตามินเอ 25 หน่วยสากล
เบต้าแคโรทีน 9 ไมโครกรัม
ลูทีน และ ซีแซนทีน 136 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.029 มิลลิกรัม (3%)
วิตามินบี2 0.101 มิลลิกรัม (8%)
วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี6 0.05 มิลลิกรัม (4%)
วิตามินบี9 6 ไมโครกรัม (2%)
วิตามินซี 36.4 มิลลิกรัม (44%)
วิตามินอี 0.87 มิลลิกรัม
วิตามินเค 7.8 ไมโครกรัม
โคลีน 12.3 มิลลิกรัม (3%)
แคลเซียม 39 มิลลิกรัม (4%)
ธาตุเหล็ก 1.85 มิลลิกรัม (14%)
แมกนีเซียม 18 มิลลิกรัม (5%)
ฟอสฟอรัส 38 มิลลิกรัม (5%)
โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม (4%)
โซเดียม 10 มิลลิกรัม (1%)
สังกะสี 0.12 มิลลิกรัม (1%)
ทองแดง 0.06 มิลลิกรัม
ซีลีเนียม 0.6 ไมโครกรัม

ประโยชน์

1.ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระงับประสาท (ใบ)
2.ใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (ใบ)
3.ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น (กิ่ง)
4.ช่วยบำรุงหัวใจ (ผล)
5.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
6.นำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ (ผล)
7.ช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ขับลมร้อน ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการกระหายน้ำ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น (ผล)
8.เป็นยาช่วยขับลมร้อน(ใบ)
9.ใช้เป็นยาแก้ไอร้อนเนื่องจากถูกลมร้อนกระทบ (ใบ)
10.ช่วยขับเหงื่อ (ใบ)
11.ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ใบ)
12.ใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด แก้ไอร้อนไอหอบ (เปลือกราก)
13.เป็นยาขับเสมหะ (เมล็ด)
14.ช้อมหรือกลั้วคอแก้อาการเจ็บคอ คอแห้ง แก้ไอ (ใบ)
15.นำมาตากแห้งต้มผสมกับน้ำผึ้ง มีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจและการมีน้ำสะสมในร่างกายอย่างผิดปกติ (ราก)
16.ยอดหม่อนนำมาต้มกับน้ำดื่มและล้างตาเป็นยาบำรุงตา (ยอด)
17.บำรุงสายตา (ผล)
18.ช่วยทำให้เลือดเย็นและตาสว่าง (ใบ)
19.ใบแก่นำมาตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก (ใบแก่)
20.ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เปลือกรากประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น
21.นำมาทำเป็นชาเขียวใช้ชงกับน้ำดื่มก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน นอกจากนี้ผลก็มีสรรพคุณรักษาเบาหวานได้เช่นกัน (ราก,เปลือกราก,ใบ,ผล)
22.ใบอ่อนหรือแก่นำมาทำเป็นชาเขียว ใช้ชงกับน้ำดื่มช่วยลดไขมันในเลือด (ใบ)
23.ช่วยขับน้ำในปอด (เปลือกราก)
24.ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยจัดความร้อนในปอด และกระเพาะอาหาร ช่วยขจัดการหมักหมมในกระเพาะอาหารและเสลดในปอด (กิ่ง)
25.ช่วยแก้อาการท้องผูก (ผล)
26.ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาเย็น ยาระบายอ่อน ๆ และมีเมล็ดที่ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร (ผล)
27.เป็นยาถ่าย ยาระบายเช่นกัน (เปลือกต้น)
28.ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (เปลือกต้น)
29.รากช่วยขับพยาธิ (ราก)
30.เป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือกราก)
31.กิ่งหม่อนมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง มีกลิ่นฉุนอันเกิดจากความร้อนภายใน (กิ่ง)
32.ช่วยบำรุงตับและไต (ผล)
33.เป็นยาสมาน (ราก)
34.ใบนำมาอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าว ใช้วางบนแผลหรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด (ใบ)
35.ใบใช้ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอกรักษาแผลจากการนอนกดทับ (ใบ)
36.ใบใช้เป็นยาแก้อาการติดเชื้อ (ใบ)
37.ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา (เปลือกราก)
38.ช่วยแก้ข้อมือข้อเท้าเกร็ง แก้โรคปวดข้อ ไขข้อ (ผล)
39.ช่วยแก้แขนขาหมดแรง (ราก)
40.ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ (ผล)
41.ประเทศจีนจะใช้เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ และผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไอ หืด วัณโรคปอด ขับปัสสาวะ การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ และโรคปวดข้อ (เปลือกราก,กิ่งอ่อน,ใบ,ผล)

วิธีการปลูกมัลเบอร์รี

     การปลูกมัลเบอร์รีควรเริ่มจากการหาต้นพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยจะมีหลากหลายพันธุ์ที่นิยมปลูก 
แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยก็คือ กำแพงแสน 84 บุรีรัมย์ 60 เชียใหม่60 ซึ่ง 3 พันธุ์นี้เหมาะสำหรับพื้นที่แลภูมิอากาศของประเทศไทย
เพราะได้มีการพัฒนาจากสถานบันเกษตรต่าง ๆอย่างต่อเนื่อง
-เมื่อเลือกต้นพันธุ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วควรเตรียมแปลงปลูกด้วยการใส่ปุ๋ยหมักในแปลงปลูกพร้อมวัดระยะในการปลูกให้ได้ประมาณ 4 x 4 เมตร
-หลังจากนั้นก็ขุดหลุดโดยใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ลองก้นหลุมพร้อมปุ๋ยคอกก่อนที่จะนำมาปลูกลงหลุม (ปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับคนที่ปลูกต้นมัลเบอร์รีในกระถางก็คือต้นมัลเบอร์รีจะไม่เจริญเติบโต สาเหตุมาจากการที่รากของต้นขดตัวเป็นกระจุกเราควรแยกออกมาใส่กระถางที่ใหญ่ขึ้นและตกแต่งกิ่งก้านเพื่อให้ต้นมัลเบอร์รีแตกยอดใหม่ขึ้นมา)

การดูแล (ไม่ต้องดูแลมากและสามารถปลูกได้ทุกที่ของประเทศไทย)
-หลังจากปลูกได้ประมาณ 6-12 เดือน ตัดแต่งกิ่งของต้น มัลเบอร์รี ให้เหลือเพียงกิ่งเดียวไว้เป็นต้นตอ
-หลังจากนั้นจะมีกิ่งใหม่แตกยอดออกมาเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไว้กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ก็ตัดทิ้งไป
-ต้นมัลเบอร์รีจะให้ผลผลิตได้เต็มที่เมื่อมีอายุครบ 2 ปี ซึ่งระหว่างนั้นเราควรที่จะบำรุงรักษาด้วยการใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยสูตรอย่างสม่ำเสมอ ถ้าต้นมัลเบอร์รีมีความสมบูรณ์จะให้ผลผลิต ประมาณ 1.5-35 กิโลกรัมหรือประมาณ 750-1,850 ผลต่อครั้งต่อต้นเลยทีเดียว

ลักษณะการปลูก
ให้ทำการโน้มกิ่งเข้าหากัน (ทำเป็นค้างหรือซุ้ม) เพื่อง่ายต่อการเก็บเกี่ยว

-------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก

https://medthai.com
 http://www.thaiarcheep.com

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

แครอท (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Daucus carota L.)

แครอท (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Daucus carota L.) 

     เป็นพืชในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง เป็นที่นิยมปลูกและรับประทานทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าดินสอไปจนถึงขนาดใหญ่ และมีหลากหลายสี เช่น สีเหลือง สีม่วง แต่ที่นิยมรับประทานนั้นจะเป็นแครอทสีส้มและยังจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอีกด้วย เนื่องจากแครอทอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังมีสารสำคัญคือสาร “ฟอลคารินอล” (falcarinol) ซึ่งช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง เป็นต้น สำหรับประโยชน์ของแครอทนั้นที่เด่น ๆ ก็เห็นจะเป็นการนำมาใช้ประกอบอาหารได้อย่างหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว ทั้งผัด ทอด แกง ต้ม ซุป สลัด ยำ ก็มีแครอทเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น และยังมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างน้ำแครอทปั่นอีกด้วย ยังไม่หมดเท่านี้สรรพคุณของแครอทที่ใช้เป็นยารักษาโรคก็ใช้รักษาได้อย่างหลากหลายเช่นกัน
ประโยชน์ของแครอทช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้สดใสเปล่งปลั่งช่วยป้องกันเซลล์ผิวไม่ให้ถูกทำลายได้ง่ายจากมลภาวะแสงแดดต่าง ๆช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายช่วยบำรุงกระดูก ฟัน เหงือก เล็บ ให้แข็งแรงยิ่งขึ้นมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
ช่วยสร้างสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้นช่วยยับยั้งต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงสรรพคุณแครอทช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไหลเวียนของเลือดช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนังประโยชน์ของแครอท ช่วยบำรุงเส้นผมช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤษ์ อัมพาต
ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลวช่วยบำรุงและรักษาสายตา รักษาโรคตาฟาง และต้อกระจกช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองและไทยรอยด์เป็นพิษช่วยย่อยอาหาร และช่วยแก้และบรรเทาท้องผูกแครอทมีสรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนสรรพคุณของแครอท ช่วยรักษาฝี แผลเน่าต่าง ๆนิยมนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวานใช้ทำเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพหรือน้ำแครอท หรือนำมาทำเป็นเค้กแครอทในด้านความงาม นำน้ำแครอทผสมมะนาว ทาผิวหน้าบำรุงผิวพรรณ ลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น สบู่แครอท เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัม

พลังงาน 41 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม
น้ำตาล 4.7 กรัม
เส้นใย 2.8 กรัม
ไขมัน 0.24 กรัม
โปรตีน 0.93 กรัม
วิตามินเอ 835 ไมโครกรัม
เบต้าแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม

ประโยชน์ของแครอท

1.ช่วยบำรุงสุขภาพผิวให้สดใสเปล่งปลั่ง
2.ช่วยป้องกันเซลล์ผิวไม่ให้ถูกทำลายได้ง่ายจากมลภาวะแสงแดดต่าง ๆ
3.ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
4.ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน เหงือก เล็บ ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
5.มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
6.ช่วยสร้างสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
7.ช่วยยับยั้งต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง
8.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
9.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
10.ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
11.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไหลเวียนของเลือด
12.ช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนัง
13.ช่วยบำรุงเส้นผม
14.ช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤษ์ อัมพาต
15.ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว
16.ช่วยบำรุงและรักษาสายตา รักษาโรคตาฟาง และต้อกระจก
17.ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองและไทยรอยด์เป็นพิษ
18.ช่วยย่อยอาหาร และช่วยแก้และบรรเทาท้องผูก
19.ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
20.ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน
21.ช่วยรักษาฝี แผลเน่าต่าง ๆ
22.นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน
23.ใช้ทำเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพหรือน้ำแครอท หรือนำมาทำเป็นเค้กแครอท
24.น้ำแครอทผสมมะนาว ทาผิวหน้าบำรุงผิวพรรณ ลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า
25.ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น สบู่แครอท 

การปลูก

การเตรียมกล้า ปลูกโดยหยอดเมล็ด
1.การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาวอัตราม 0-100 กรัม/ตร.ม. ไว้อย่างน้อย 14 วัน กำจัดวัชพืช ขึ้นแปลงกว้าง 1 ม.
2.ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 20-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดิน ปรับหน้าแปลงให้เรียบ
3.ขีดร่องลึก 1 ซม. ขวางแปลงห่างกันร่องละ 15 ซม.
4.หยอดเมล็ดที่ละเมล็ดระยะห่าง 1 ซม. กลบเมล็ดแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
5.การถอนแยก
ครั่งที่ 1 หลังหยอดเมล็ด 15-20 วัน (มีใบจริง 3-5 ใบ) เหลือระยะปลูก 3 ซม.
ครั้งที่ 2 หลังหยอดเมล็ด30-35 วัน (มีใบจริง 8-9 ใบ) เหลือระยะปลูก 5-8 ใบ
ข้อควรระวัง 
1.ช่วงแรกระวังมดคาบเมล็ดหรือแมลงกัดกินเมล็ด
1. การหยอดเมล็ดอย่าให้เมล็ดที่หยอดติดกัน ระยะห่างประมาณ 1 ซม.
2. ควรให้น้ำสม่ำเสมออย่าให้แฉะเกินไป
การดูแลรักษาแครอทในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การให้น้ำ หลังปลูกรดน้ำให้ชุ่ม และให้น้ำทุกวันสม่ำเสมอ แต่อย่าให้น้ำขัง หัวจะเน่า
การให้ปุ๋ย
1. หลังถอนแยกครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30-50 กรัม/ตร.ม. พร้อมกำจัดวัชพืช
2. หลังการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15-20 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 30-50 กรัม/ตร.ม. โรยในร่องลึก 2-3 ซม. ระหว่างแถวปลูก
ข้อควรระวัง
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญของแครอทในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะหยอดเมล็ด-ถอนแยก ครั้งที่ 1 อายุ 15-20 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม
ระยะถอนแยก ครั้งที่ 2 อายุ 30-35 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน
ระยะลงหัว 35-100 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน, โรคหัวเน่า
ระยะเก็บเกี่ยว 100-120 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน, โรคหัวเน่า

การเก็บเกี่ยว

1. เมื่อมีอายุได้ 100-120 วัน
2. เก็บเกี่ยวโดยการขุดเมื่ออายุและขนาดเหมาะสม
3. ล้างรากให้สะอาด ผึ่งให้แห้งระวังอย่าให้ผิวถลอก

 -----------------------------------------------------
https://medthai.com
http://www.legendnews.net

วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

ดอกชมจันทร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea alba L.)



ดอกชมจันทร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea alba L.)

     ดอกชมจันทร์ ไม้เถา ไม่มีขน ลำต้นมียางใส ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 5-13 เซนติเมตร ยาว 8-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึก ก้านใบเรียว ยาว 5-18 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลิ่นหอม  บานตอนเช้าและพลบค่ำ ออกตามง่ามใบเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อ 2-5 ดอก เมื่อบานเต็มที่ กว้าง 10-13 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 1-20 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด อาจปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงแปลงโดยตรง หรือเพาะเป็นต้นกล้า ก่อนเพาะนำเมล็ดมาแช่ด้วยน้ำนาน 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จะทำให้งอกได้เร็วขึ้น เนื่องจากเมล็ดดอกชมจันทร์มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่แข็ง เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วัน สามารถปลูกลงแปลงได้ นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วต้นดอกชมจันทร์ยังสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำส่วนของลำต้น  ซึ่งสามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ปลูกต้องระบายน้ำได้ดี เจริญเติบโตได้ในสภาพกลางแจ้งที่มีแสงแดด แปลงปลูกอาจจะยกแปลงขึ้นคล้ายกับแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง วิธีปลูกโดยขุดหลุมปลูกลึก 15-20 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัมต่อหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าลงปลูก ระยะปลูกที่ใช้คือ ระหว่างต้น 40-50 ซม. และระหว่างแถว 70-100 ซม. ในช่วง 1 เดือนแรก หลังปลูกควรมีการให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น้ำวันละครั้ง เมื่อต้นดอกชมจันทร์เริ่มแตกยอดอ่อนควรมีการทำค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้น โดยทำค้างคล้ายกับค้างถั่วฝักยาวหรือทำเป็นซุ้ม หลังปลูกประมาณ 2-3 เดือน ก็จะเริ่มออกดอก ต้นดอกชมจันทร์มีดอกสีขาวสวยงาม จะบานในเวลาตอนกลางคืน และมีกลิ่นหอม ในต่างประเทศ เช่น ในยุโรป และสหรัฐอเมริกาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ พบว่าเป็นผักที่มีไขมันต่ำมากและมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในต่างประเทศเช่น อเมริกา และยุโรป จะปลูกเป็นไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่นภาคใต้ และภาคอีสาน ได้เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหาร โดยนำดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือ นำมาลวกเพื่อจิ้มกับน้ำพริกรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัม

พลังงาน 34.91 กิโลแคลอรี
วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม

แคลเซียม 22.74 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม 
ฟอสฟอรัส 34.42 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 1.25 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินซี 0.09 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 136.11 มิลลิกรัม
โคเอนไซม์คิว 0.28 มิลลิกรัม 


ประโยชน์

1.มีสารต้านอนุมูลอิสระ
2.เป็นยาระบายอ่อนๆ มีไขมันต่ำ
3.ช่วยบำรุงสมอง
4.เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และป้องกันมะเร็ง
5.แก้ร้อนใน
6.บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน
7.ขับปัสสาวะ
8.บรรเทาริดสีดวงทวาร
9.สามารถช่วยบำรุงระบบประสาท ทำให้ผ่อนคลาย มีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ(เกสร)

วิธีการขยายพันธุ์

     ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด อาจปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงแปลงโดยตรง หรือเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า ก่อนเพาะเมล็ดมาแช่น้ำนาน 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จะทำให้งอกได้เร็วงอกได้เร็วขึ้น โดยใช้เวลานานประมาณ 7-14 วัน เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วันสามารถปลูกลงแปลงได้ นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดแล้ว ยังสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำส่วนของลำต้นได้เช่นกัน

วิธีการปลูก

     ต้นชมจันทร์สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ต้องระบายได้ดี เจริญเติบโตได้ในสภาพกลางแจ้งที่มีแสงแดด แปลงปลูกอาจยกแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนวิธีปลูกมีดังนี้
          1. ขุดหลุมปลูกลึก 15-20 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัม/หลุม
          2. นำต้นกล้าลงปลูก ระหว่างต้น 40-50 เซนติเมตร และระหว่างแถว 70-100 เซนติเมตร
          3. ในช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูก ควรมีการให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น้ำวันละครั้ง
          4. เมื่อต้นดอกชมจันทร์เริ่มแตกยอด ควรมีการทำค้าง คล้ายกับค้างถั่วฝักยาว หรือทำเป็นซุ้ม โดยหลังปลูกประมาณ 2-3 เดือนก็จะเริ่มออกดอก





 -------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
https://hilight.kapook.com
http://lifestyle-i-know.blogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

ดอกขจร (ชื่อวิทยาศาสตร์ :Telosma minor Craib)


             ดอกขจร (ชื่อวิทยาศาสตร์ :Telosma minor Craib)                      

     ต้นขจร หรือ ต้นสลิดมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็ก ลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ  ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ สลิด ขจร (ภาคกลาง), ผักสลิด (นครราชสีมา), กะจอน, ขะจอน, สลิดป่า, ผักสลิดคาเลา, ผักขิก
ใบขจร หรือ ใบสลิด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ คล้ายใบโพธิ์หรือใบพลู ปลายใบเรียวแหลมยาวเป็นติ่ง (คล้ายใบต้นข้าวสาร) โคนใบมนเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบบาง เกลี้ยง ไม่มีจัก จะเห็นเส้นใบชัด หน้าใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นสีเขียวอมสีแดงเล็กน้อย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร ดอกขจร หรือ ดอกสลิด ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามหรือออกเป็นพวง ๆ คล้ายพวงอุบะตามซอกใบหรือโคนก้านใบ โดยในช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 10-20 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะแข็งเป็นสีเขียวอมสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม (หอมแรงกว่าดอกชำมะนาดหรือกลิ่นของใบเตย โดยจะหอมมากในช่วงเย็นถึงกลางคืน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ กลีบดอกย่นและบิด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ติดอยู่บนหลอดกลีบดอก เชื่อมติดกันเองและเชื่อมติดกับยอดเกสรเพศเมีย แล้วจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นชั้นกระบังรอบ ล้อมรอบก้านยอดเกสเพศเมียและเกสรเพศเมียเอาไว้ และมีชุดกลุ่มเรณูอยู่ 5 ชุด ซึ่งมีลักษณะการเกิดคล้ายกับในดอกรัก เกสรเพศเมียจะมีรังไข่ 2 อัน แต่มีก้านยอดเกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมียร่วมกัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม บ้างว่าจะออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ผลขจร หรือ ฝักขจร ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาวปลายแหลม (คล้ายฝักนุ่นที่ยังเล็ก) ผิวผลเรียบ ผลเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะแตกออกตะเข็บเดียว ภายในผลหรือฝักมีเมล็ดลักษณะแบนจำนวนมาก และมีปุยสีขาวติดอยู่ที่ปลายเมล็ด เมล็ดปลิวว่อนคล้ายกับนุ่นที่มีเมล็ดเกาะติดกับใยสีขาว โดยจะออกผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัม

พลังงาน 72 แคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 10.6 กรัม
โปรตีน 5.0 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม
ใยอาหาร 0.8 กรัม
น้ำ 80.5 กรัม
เถา 1.0 กรัม

ประโยชน์

1.️ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
2.️ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ (ราก)
3.️ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก, ยอดใบอ่อน)
4.แก่นและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น, เปลือก)
5.️ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี (ดอก, ยอดใบอ่อน)
6.️ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น (ดอก)
7.️ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน (ดอก)
8.️รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา (ราก)
9.️รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว (ราก) บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตาแล้วใช้หยอดตา (ราก)
10.️ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต (ดอก)
11.️ดอกมีรสเย็นขมและหอม ช่วยบำรุงปอด (ดอก)
12.ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ดอก)
13.️ช่วยในการขับถ่าย (ดอก)
14.️ช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรี (ดอก)
15.️ช่วยบำรุงตับและไต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
16.️รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวง (ราก)
17.️ช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหารและช่วยดับพิษยา (ราก)
18.️ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม
ข้อควรระวัง ! : ลำต้นเป็นพิษต่อสุกร 

การปลูก

1. จำเป็นต้องเลือกชนิดพันธุ์ดอกขจรที่จะปลูกให้เหมาะสม ซึ่งขจรพันธุ์ดอกนั้นจะให้ดอกที่ดกและดอกใหญ่
2. การให้น้ำดอกขจร ถึงแม้ขจรจะไม่ชอบน้ำแต่ก็ไม่สามารถขาดน้ำได้เลย ควรรดน้ำวันละครั้งเพื่อให้ดอกมีที่โตและไม่เหี่ยวเฉา
3. ควรใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับต้นดอกขจร  ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยสูตร 25-7-7  โดยใส่สลับกันทุก 15 วัน
4. ควรป้องกันศัตรูของดอกขจรและมีวิธีการป้องกันที่เหมาะสม
5. ควรทำค้างดอกขจรที่เหมาะสม ดอกขจรจะได้รับแสงแดดและออกดอกที่ดี

การขยายพันธุ์

     สามารถทำได้ด้วยวิธีการปักชำ และวิธีการเพาะเมล็ด แต่วิธีที่นิยมทำกันเป็นส่วนใหญ่คือ วิธีการปักชำ ขจรเป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัด และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความอุดมสมบูรณ์ 
-การเลือกกิ่งพันธุ์
ให้เลือกกิ่งที่มีเครือดอกขจรโตสมบูรณ์และใบร่วงไปหมดแล้ว ซึ่งเป็นกิ่งที่เหมาะแก่การนำไปขยายพันธุ์
-การเตรียมกิ่ง
ตัดบริเวณข้อให้ได้ 2 ข้อๆ ละประมาณ 2 ซม. นำส่วนที่เป็นตาข้อปักลงไปในดินให้ลึกประมาณ 1-2 ซม. เพื่อเพาะชำ
-การเตรียมดิน 
ทำการไถพรวนกลบพื้นที่ปลูกด้วยปุ๋ยมูลไก่จำนวน 10 กระสอบ แล้วตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ต่อจากนั้นให้ทำการยกแปลงไปตามความยาวของพื้นที่ โดยให้แปลงมีความกว้างประมาณ 4-6 เมตร และระหว่างแปลงควรให้อยู่ห่างกันประมาณ 80 ซม.

วิธีการปลูก

     ใน 1 แปลง ควรใช้ระยะปลูกแบบ 2 แถว โดยให้ห่างกันประมาณ 2×2 เมตร หลุมสำหรับปลูกควรลึกประมาณ 30-50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกให้พอเหมาะและตามด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนแกง นำกิ่งพันธุ์ประมาณ 2-3 กิ่งลงปลูกพร้อมเกลี่ยดินกลบโคนต้นให้แน่น รดน้ำให้พอชุ่ม หลังจากนั้นควรให้น้ำวันละ 1 ครั้ง หรือตามสภาพของดินว่ามีความชื้นมากน้อยแค่ไหน ขจรจะเริ่มออกดอกหลังจากปลูกได้ประมาณ 1 เดือนขึ้นไป หรือหลังจากที่ปลูกไปแล้วประมาณ 5 เดือน หากมีการให้น้ำอย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ขจรก็จะเริ่มให้ผลผลิตได้อีก
-การทำค้าง
     เพื่อให้ต้นขจรได้เลื้อยพัน และมีการแตกยอดที่ดี จึงควรใช้ไม้ในการทำค้างจำนวน 2 เสา ปักเป็นหลักให้ห่างกันประมาณ 2 เมตร ตามแนวยาวของแปลง โดยให้สูงจากพื้นดินประมาณ 1.50 เมตร และใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว ปักระหว่างเสาหลัก และเพื่อให้เป็นทางเลื้อยขึ้นไปของยอดขจร ก็ให้ใช้ไม้ไผ่ที่ผ่าซีกแล้วผูกเป็นขั้นบันไดไว้ด้วยประมาณ 5-6 ขั้น โดยเว้นทางเดินไว้ประมาณ 80 ซม. นับเป็น 1 ซุ้ม แล้วเริ่มทำซุ้มต่อไปเรื่อยๆ
-การใส่ปุ๋ย
     ควรให้ปุ๋ยอินทรีย์สูตรน้ำชนิดใดก็ได้ประมาณ 1 ครั้ง/สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 สลับกับสูตร 25-7-7 ประมาณ 2 ครั้ง/เดือน และใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้นไปได้เรื่อยๆ ตามความเหมาะสม

การดูแลรักษา

     ควรใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรที่ได้จากการนำน้ำเปล่า 12 ลิตร ผสมกับสะเดา ตะไคร้หอม ข่า รวมกันให้ได้ 10 ก.ก. แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน โดยใช้ผสมกับน้ำใช้รดต้นไม้เพื่อเป็นการดูแลบำรุงรักษา และเพื่อปราบศัตรูพืช

การเก็บเกี่ยวผลผลิต 

     ขจร จะให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้หลังจากที่ปลูกไปได้ประมาณ 5 เดือน ควรทำการเก็บเกี่ยวในช่วงเช้ามืด โดยใช้มีดคมๆ ตัดบริเวณขั้วของก้านดอก เก็บแบบวันเว้นวัน หลังการเก็บเกี่ยวควรมีการตัดแต่งกิ่งที่แก่ออกอยู่เสมอเพื่อให้มีการแตกยอดออกมาใหม่ ในช่วงที่ให้ดอกน้อยประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ควรมีการแต่งกิ่งให้โล่ง หลังทำการย้ายปลูกได้ประมาณ 30 วันต้นขจรก็จะเริ่มผลิดอก และในช่วงอายุประมาณ 8-10 เดือน ก็จะให้ผลผลิตได้มากที่สุด


------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก

 https://medthai.com
http://www.vichakaset.com
 http://www.suanmeesuk.com

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

ถั่วลันเตาหวาน (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pisum sativum)

 

ถั่วลันเตาหวาน (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pisum sativum)

     เป็นพืชในตระกูลถั่ว (Leguminosae) ซึ่งโดยปกติถั่วลันเตาชนิดรับประทานเมล็ดจะมีฝัก เหนียวและแข็ง เมล็ดโต แต่ได้รับ การปรับปรุงพันธุ์ สำหรับการ รับประทานฝักสด มีเนื้อฝักหนา รสหวาน กรอบ
สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วหวาน ดิน ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วลันเตา ควรมีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึก และควรมี pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
อุณหภูมิ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 13-18’C หากอุณหภูมิต่ำกว่า 4’C หรือสูงกว่า 29’C จะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก และในกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 30’C ดอกและฝักร่วง ไม่ควรปลูก ในสภาพอากาศเย็นมีน้ำค้างแข็ง โดยเฉพาะในระยะที่ดอกบานและเริ่มติดฝัก และควรได้รับแสงตลอดทั้งวัน ถั่วลันเตาหวาน มีคุณค่าทางอาหารเหมือนถั่วลันเตาโดยทั่วไป คือ มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาก เหมาะอย่างยิ่งต่อการบำรุงกระดูกและฟัน ฟากฝักแก่สามารถนำเมล็ดมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ลวกและโรยบนสลัด ผัดผักรวม ใส่ไข่ยัดไส้ ข้าวผัด เป็นต้น สำหรับฝักสดสามารถนำมาลวกรับประทานกันสเต๊ก หรือผัดไฟแรงอย่างรวดเร็ว จะมีรสหวานและกรอบ

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัม 

พลังงาน : 52 กิโลแคลอรี่ใยอาหาร : 3.3 กรัม
โปรตีน : 4.3 กรัมไขมัน : 0.1 กรัม
คาร์โบไฮเดรต : 8.5 กรัมแคลเซียม : 171 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส : 115 มิลลิกรัม
เหล็ก : 1.5 มิลลิกรัม
วิตามินบี 1 : 0.11 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 : 0.09 มิลลิกรัม
ไนอาซีน : 1.4 มิลลิกรัม
วิตามินซี : 23 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน : 11.8 ไมโครกรัม

ประโยชน์

1.ช่วยระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
2.ช่วยลดน้ำหนัก
3.ช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
4.ใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับเด็ก ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย แก้ท้องเสียเรื้อรัง
5.เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันสูง สามารถรับประทานได้เนื่องจากมีโซเดียมต่ำ
6.แก้โรคไทรอยด์ได้
7.ช่วยยับยั้งโรคคอพอก
8.บำรุงสายตาและผิวพรรณ

วิธีการปลูกและการดูแล

การเตรียมดิน ขุดดินและใส่ปูนขาวตามคำแนะนำจากการวิเคราะห์ดิน อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 10 วัน ก่อนปลูกคลุกปุ๋ย 0-4-0 อัตรา 40 กรัม/ตร.ม. กับ 12-24-12 อัตรา 25-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดินแปลงกว้าง 1 ม.(แถวคู่)

การปลูก เมล็ดพันธุ์ที่ใช้จะใช้ประมาณ 5-8 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ให้แช่น้ำ 1 คืน และคลุกด้วยยากันเชื้อรา สำหรับหลุมปลูกจะใช้วิธีการขุดหลุมหรือเป็นร่องยาวตื้นพอกลบเมล็ดได้ ลึกประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร พร้อมโรยด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ การหยอดเมล็ดจะใช้เมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร กลบด้วยหน้าดิน และคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากปลูก 3-5 วัน เมล็ดถั่วลันเตาจะเริ่มงอก เมื่อต้นอ่อนมีใบจริง 3-5 ใบ หรือสูงประมาณ 8-10 เซนติเมตร ให้ถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง โดยให้เหลือเพียงหลุมละ 2 ต้น หรือหากเป็นการหยอดแบบไม่เป็นหลุมให้ถอนเหลือต้นเดียวตามระยะที่เหมาะสม
ข้อควรระวัง
หยอดเมล็ดลึกจะทำให้เน่าควรคลุกเคล้าเมล็ดด้วยไตรโครเดอร์มา หรือเอพรอน 35

การทำค้าง เมื่อปลูกได้ 10 วัน โดยปักไม้ค้างสูง 2 ม. ระยะห่าง 1 ม. ผูกเชือกช่วงละ 20 ซม.
ให้น้ำทุก 2-3 วัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก หากขาดน้ำจะไม่ติดฝัก
 
การใส่ปุ๋ย
พืชอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.พืชอายุ 30 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. กลบดินบางๆ แล้วรดน้ำตาม ควรกำจัดวัชพืชพร้อมการให้ปุ๋ย
การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บผลผลิต เมื่อมีอายุได้ประมาณ 45-70 วัน เก็บ 3 วัน/ครั้ง เป็นเวลา 15-25 วัน(ถ้าดูแลรักษาดี) ปลิดให้มีขั้วติดฝัก ไม่ควรล้างน้ำ คัดฝักเสียทิ้งและผึ่งให้แห้ง 1 คืน ก่อนบรรจุลงในตะกร้าพลาสติก

การพรวนดิน และกำจัดวัชพืช
การพรวนดิน และกำจัดวัชพืช ควรทำทุกๆ 2 อาทิตย์ จนต้นถั่วสูงได้ 30-50 ซม. แล้วจึงหยุด ซึ่งช่วงนี้ต้นถั่วจะสามารถแข่งเติบโตกับวัชพืชอื่นได้ดีแล้ว
โรคและแมลงศัตรูในช่วงระยะต่างๆ
ระยะปลูก-ปลูกซ่อม 0-10 วัน โรคเหี่ยว, หนอนชอนใบ,
ระยะเริ่มติดดอก 25-35 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,
ระยะฝักเจริญเติบโต 35-45 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ
ระยะเก็บเกี่ยว 45-70 โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ

การเก็บเกี่ยว

อายุการเก็บเกี่ยวของถั่วลันเตามีความแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะใช้เกณ์ ดังนี้
– อายุการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 60-90 วัน หลังปลูก
– อายุการเก็บเกี่ยวจากจำนวนวันหลังดอกบาน  5-7 วัน
– ระยะการเก็บเกี่ยวจากความหนาของฝัก พันธุ์ฝักเล็ก หนา 0.44-0.68 เซนติเมตร พันธุ์ฝักใหญ่ หนา 0.53-0.64 เซนติเมตร
– ลักษณะฝักอวบ สีเขียวอ่อน เปราะกรอบ ไม่เหนียว
     การเก็บฝักอ่อนถั่วลันเตา ควรเก็บเกี่ยวฝักสดวันเว้นวัน โดยทั่วไปมีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวนาน 30-60 วัน ซึ่งต้องเก็บในระยะฝักอ่อนที่เต็มไปด้วยน้ำตาล หากฝักแก่ น้ำตาลจะถูกเปลี่ยนเป็นแป้งทำให้ความหวานลดลง และมีเส้นใย และความเหนียวมากขึ้น

----------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

http://puechkaset.com
 http://www.vegetweb.com

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

แตงไทย (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cucumis melo)

แตงไทย (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cucumis melo)

     แตงลาย(เหนือ) แตงจิง แตงกิง(อีสาน) ซกเซรา(เขมร) เป็นพืชล้มลุกพื้นเมืองของไทย ลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีขนอ่อนปกคลุมตลอดทั้งลำต้นและใบ มีลำต้นลาย เป็นสันร่องตามยาว แตกกิ่งแขนง และมีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ มีลักษณะเหลี่ยมมีเว้าเล็กน้อย มีรูปทรงกลมหรือรูปไต ขอบใบหยัก มีแฉก 5-7 แฉก กว้าง และยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร โคนใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนขึ้นปกคลุม ก้านใบยาว 4-10 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกเดี่ยวสีเหลือง มีก้านดอกสั้น ดอกเพศผู้ออกเป็นจุกที่ง่ามใบ ดอกบานกว้าง 1.2-3 เซนติเมตร มีกลีบรองดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบยาว 6-8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันบริเวณโคนกลีบ แต่ละกลีบมีรูปทรงกลม ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ด้านในมีเกสรตัวผู้ 3 อัน ระหว่างอับเรณูมีติ่งยาว ส่วนดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยว มีกลีบรองดอก และกลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้ ปลายท่อรังไข่มีแฉก 3-5 แฉก ผลมีลักษณะกลมหรือรียาว ตามสายพันธุ์ ผลมีลายตามความยาวของผล มีความยาวผลประมาณ 23 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 14 เซนติเมตร ผิวเปลือกมันเรียบ ผลดิบมีสีเขียว มีลายสีขาวหรือสีเหลืองตามแนวยาว มีเนื้อสีขาวนวล ส่วนผลสุกมีเปลือกบาง เปลือกสีเหลืองหรือเขียวอ่อน มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมแรงกว่าแตงอื่นๆ นิยมปลูกสำหรับทำของหวาน รวมถึงนำมารับประทานสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก แต่ละต้นติดผลประมาณ 3-5 ผล

คุณค่าทางโภชนาการ (100 กรัม)

พลังงาน
– แตงไทยอ่อน : 19 กิโลแคลอรี่
– แตงไทยสุก : 12 กิโลแคลอรี่
เส้นใย
– แตงไทยอ่อน : 0.5 กรัม
– แตงไทยสุก : 2.7 กรัม
เถ้า
– แตงไทยอ่อน : 0.3 กรัม
– แตงไทยสุก : 0.3 กรัม 
คาร์โบไฮเดรต
– แตงไทยอ่อน : 3.7 กรัม
– แตงไทยสุก : 2.3 กรัม
โปรตีน
– แตงไทยอ่อน : 0.8 กรัม
– แตงไทยสุก : 0.8 กรัม
แคลเซียม
– แตงไทยอ่อน : 20 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : –
ฟอสฟอรัส
– แตงไทยอ่อน : 41 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 13 มิลลิกรัม
เหล็ก
– แตงไทยอ่อน : 1.1 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 0.3 มิลลิกรัม
วิตามิน C
– แตงไทยอ่อน : 31 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 17 มิลลิกรัม
วิตามิน B1
– แตงไทยอ่อน : 0.02 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 0.02 มิลลิกรัม
วิตามิน B2
– แตงไทยอ่อน : 0.03 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 0.01 มิลลิกรัม


ประโยชน์ของแตงไทย

1.ช่วยในการบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส และช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่า
2.ช่วยลดความหยาบกร้านของผิวและรอยด่างดำต่าง ๆ
3.ช่วยในการชะลอวัย และลดการเกิดริ้วรอย
4.หน้าใสไร้สิวด้วยแตงไทย ด้วยการใช้แตงไทยสุกครึ่งถ้วย นมสดครึ่งถ้วย ไข่ไก่ 1 ฟอง นำมาผสมรวมกัน แล้วนำมาพอกทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีก่อนเข้านอนแล้วล้างออก
5.ช่วยในการดับกระหาย
6.ช่วยคลายร้อน ขับเหงื่อ ลดอุณหภูมิของร่างกาย
7.มีส่วนในการช่วยบำรุงหัวใจ
8.ช่วยบำรุงประสาทและสมอง
9.ช่วยบำรุงรักษาสายตา
10.ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ
11.ช่วยในการขับน้ำนมของมารดาให้นมบุตร
12.ช่วยบรรเทาและแก้อาการไอ
13.มีสารรสขมที่ช่วยในการอาเจียน
14.ช่วยรักษาผิวอักเสบ ด้วยการใช้แตงไทยสุกบดละเอียดครึ่งถ้วย นมสดครึ่งถ้วยผสมเข้าด้วยกันจนได้เนื้อที่เข้มข้น แล้วนำมาพอกบริเวณผิวที่อักเสบทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก
15.แก้โรคดีซ่าน
16.ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
17.ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
18.รักษาแผลในจมูก ด้วยการนำมาบดเป็นผงแล้วนำมาพ่น
19.ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
20.แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
21.ช่วยในการย่อยอาหาร
22.รากนำมาต้มดื่มช่วยระบายท้อง
23.เมล็ดของแตงไทยช่วยในการขับปัสสาวะ
24.ช่วยรักษาโรคปัสสาวะอักเสบ
25.รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใช้เป็นเครื่องเคียงกินกับยำกับน้ำพริก
26.ถ้าสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้รสชุ่มเย็น นิยมรับประทานกับน้ำแข็งใส่น้ำเชื่อมกะทิแตงไทย
27.นำมาแปรรูปใช้ทำเป็นของหวาน เช่น น้ำปั่น น้ำกะทิแตงไทย ผลไม้แห้ง แยมแตงไทย 


วิธีการปลูก

-การเตรียมดิน
     นิยมปลูกบนแปลงไร่นา ต้องเตรียมดินด้วยการไถพรวนดิน พร้อมกำจัดวัชพืช และตากดิน 5-7 วัน ก่อน หลังจากนั้น หว่านโรยด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 3-5 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมไถยกร่องคล้ายกับการปลูกมันสำปะหลัง ขนาดร่องกว้าง 60-80 เซนติเมตร ซึ่งจะได้ระห่างระหว่างแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร
-การปลูก
     นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว โดยใช้วิธีการหยอดเมล็ด ระยะห่างระหว่างหลุม 60-80 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 3-5 เมล็ด
-การดูแล
     ไม่ค่อยยุ่งยากนักเหมือนการปลูกแตงชนิดอื่น หากปลูกในฤดูฝนจะอาศัยน้ำฝนในการเติบโตเท่านั้น และไม่ต้องทำค้าง เพียงปล่อยให้เลื้อยตามดิน แต่บางพื้นที่อาจพบการระบาดของไส้เดือนเจาะผล หรือผลเน่า ซึ่งต้องคอยหาที่รองผลไม่ให้สัมผัสกับดิน โดยเฉพาะในช่วงที่ดินชุ่มมาก เช่น การใช้เศษไม้ กิ่งไม้ หรือฟางรองผล
-การเก็บผลผลิต
     ผลแตงไทยที่สุกจะมีสีเหลือง และมีกลิ่นหอม ควรเก็บผลในระยะที่ผิวเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองมากกว่าร้อยละ 70 ของผล ใบเหลือง และร่วง ไม่ควรเก็บในระยะผลปริแตก เพราะจะเก็บได้ไม่นาน
------------------------------------------------------------------ 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://medthai.com
 http://puechkaset.com