กีวี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Actinidia chinensis)
ภาษาจีนเรียกหมีโหวเถา เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ต่อมาเริ่มเป็นที่แพร่หลายออกนอกประเทศจีน ต่อมา มีผู้นำไปปลูกที่นิวซีแลนด์เมื่อ พ.ศ. 2449 และได้ปรับปรุงพันธุ์จนได้กีวีที่รสดีมากขึ้น จนกลายเป็นผู้ส่งออกกีวีรายใหญ่ที่สุด นอกจากนั้น นิวซีแลนด์ยังเปลี่ยนชื่อเรียกผลไม้ชนิดนี้จาก Chinese gooseberry เป็นกีวี ตามชื่อของนกกีวีที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ
Jack Turner เป็นคนที่เริ่มเรียกว่า "kiwifruit" เมื่อราว พ.ศ. 2505 ในประเทศไทยนำกีวีพันธุ์Bruno เข้ามาปลูกที่ดอยอ่างขาง และดอยขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงประมาณ1400 เมตรจากระดับน้ำทะเล
กีวีเป็นไม้เลื้อย กิ่งและใบมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ กว้างขนาด 4-7 เซนติเมตร ยาว 7-10 เซนติเมตร ดอกจะแยกเพศและแยกต้นกัน ดอกสีขาว กลีบดอกมร 5 กลีบ ผลรีรูปไข่ มีขนสีน้ำตาลเล็กๆปกคลุมทั่วผล เนื้อสีเขียว บางพันธุ์เนื้อสีเหลือง
ชุ่มน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน มีเมล็ดเล็กๆสีดำหลายเมล็ดอยู่ข้างในผล เป็นผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน แต่มีความไวต่อเอทิลีน ถ้าเก็บกีวีดิบไว้ใกล้กับผลไม้ที่ปล่อยเอทิลีน เช่น กล้วย แอปเปิล จะสุกเร็วมาก ถ้าเก็บอย่างเหมาะสม จะเก็บได้นานถึงสองสัปดาห์
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน 255 kJ (61 kcal)
โปรตีน: 0.8 กรัม
ไขมัน: 0.4 กรัม
เส้นใย: 2.1 กรัม
ซิตามิน ซี : 64 มิลลิกรัม
วิตามิน เอ: 3 ไมโครกรัม
เหล็ก: 0.2 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม: 252 มิลลิกรัม
โฟเลท: 17 ไมโครกรัม
โปรตีน: 0.8 กรัม
ไขมัน: 0.4 กรัม
เส้นใย: 2.1 กรัม
ซิตามิน ซี : 64 มิลลิกรัม
วิตามิน เอ: 3 ไมโครกรัม
เหล็ก: 0.2 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม: 252 มิลลิกรัม
โฟเลท: 17 ไมโครกรัม
การเพาะเมล็ด
1.พักตัวเป็นเวลา
4 เดือน ที่อุณหภูมิ 1-4 องศาเซลเซียส โดยใส่ในทรายหยาบชื้น
หรือพีทมอสชื้น ประมาณ 70-80% กลบพอให้มิดเมล็ด แล้วใส่ในซิปล็อค
หรือกล่องพลาสติกปิดฝา แช่ไว้ที่ช่องแช่เนื้อในตู้เย็น
2.คอยดูแลความชื้น อย่าปล่อยให้แห้งสนิท เมื่อเห็นว่าหน้าดินประมาณ ครึ่งนิ้วเริ่มแห้งค่อยสเปรย์น้ำลงไป
3.เมื่อครบกำหนด
นำออกจากตู้เย็น แล้วนำเมล็ดใส่กระถางหรือภาชนะปลูกกลบหน้าบางๆ
ไปวางไว้ในที่ร่มรำไร หรือที่ร่มที่มีแสงสว่างเพียงพอ เช่นโรงจอดรถ ระเบียง
คอยดูแลรดน้ำอย่าปล่อยให้แห้งสนิท
หรือ แฉะเกินไป
สังเกตว่าหน้าดินประมาณ
ครึ่งนิ้วเริ่มแห้งก็ให้เพิ่มน้ำลงไปตามความเหมาะสมของสภาพอากาศ
สามารถใช้พลาสติกคลุมได้เมื่อเห็นว่าหน้าดินแห้งเร็วเกินไป
4.เมล็ดจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 4 – 6 สัปดาห์
การปลูก
กีวีฟรุตที่ปลูกในประเทศไทยจะเข้าสู่ระยะพลัดใบในช่วงปลายเดือนธันวาคม และเข้าสู่ระยะแตกใบใหม่ และเกิดตาดอกประมาณกลางเดือนมีนาคม ดอกจะบานเมื่อใบอ่อนคลี่เต็มที่ และทยอยบานตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมโดยดอกที่มีการผสมเกสรจะติดเป็นผลประมาณต้นเดือนเมษายนซึ่งในระยะ8 สัปดาห์ ผลจะเติบโตอย่างรวดเร็ว และจะเริ่มคงที่ประมาณเดือนกันยายน หลังจากนั้นจะเก็บผลผลิตในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม กีวีเป็นพืชที่ชอบอากาศหนาวเย็นในบางช่วง และเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนปนทรายที่มีหน้าดินลึก ไม่ชอบพื้นที่น้ำขัง หน้าดินแน่นหรือเป็นดินเหนียวมาก ดินมีลักษณะเป็นกรดเล็กน้อย มีแนวกำยังลมตามธรรมชาติเพราะว่าลมแรงจะทำให้กิ่งอ่อนหักได้ ทำให้การผสมเกสรของดอกลดลงและยังอาจจะทำให้ผลกีวีเกิดความเสียหายเนื่องจากมีการเสียดสีกับใบ ซึ่งหลักของแนวกำบังลมนั้นคือ ไม้กำบังลมมีความสูงสม่ำเสมอ ไม่มีช่องว่างและควรปลูกให้ชิดกันแต่ที่สำคัญต้องปลูกในระยะที่ไม่บังแสงแดดด้วย
-ระยะห่างการปลูก
ทั่วๆไปประมาณ 4.5x6.9 เมตร ขึ้นอยู่กับค้างที่ใช้ และต้องที่ต้นตัวผู้แทรกไว้เสมอ เพื่อให้มีการผสมเกสร สัดส่วนต้นตัวผู้:ต้นตัวเมียอยู่ระหว่าง 1:4 ถึง 1:9 แล้วแต่สายพันธุ์ (เช่น ต้นตัวผู้1ต้น ตัวเมีย4ต้นสลับกันไปเรื่อยๆ)
-การทำค้าง
กีวี่เป็นพืชที่เป็นเถาเลื้อยจึงต้องมีค้างไว้ยึด ซึ่งค้างโดยทั่วไปมีหลายแบบ เช่นแบบตัวที โดยให้มีความสูงเหนือดินประมาณ 1.8 เมตร เพื่อจะได้สะดวกในการปฏิบัติงาน ซึ่งค้างแบบตัวทีปกติแขนจะยาว 1.5 เมตร มีเส้นลวดพาด 3 เส้น เป็นแบบที่แสงแดดส่องถึงและเก็บเกี่ยวได้สะดวก
-การดูแล
ใส่ปุ๋ยคอกสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญในการรดน้ำที่ควรทราบคือต้องใช้ระบบหยดน้ำ เพราะระบบรากตื้นหากินธาตุอาหารอยู่ผิวดิน ซึ่งการใช้ระบบน้ำหยดนี้จะไม่ทำให้ดินเป็นร่อง และไม่มีผลกระทบต่อระบบราก (ควรกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของแมลงและศัตรูพืช)
-การตัดแต่ง
หลังการปลูในปีแรกต้องเลือก 1 เถา ที่แข็งแรงและตั้งตรง มีตาที่สมบูรณ์ 4-6 ตา ใส่ดินรอบโคนต้นพูนยึดต้นให้มั่นคง ใช้ลวดยึดเถาติดกับเสาค้างเป็นระยะๆให้ต้นตรง ตัดปลายยอดใต้ระดับค้างเล็กน้อย การตัดยอดใต้ค้างประมาณ 10-20 เซนติเมตร ช่วยให้กิ่งใหม่ที่จะใช้เป็นกิ่งหลักแข็งแรง ในปีที่ 2 คัดเลือกกิ่งใหม่ให้เป็นกิ่งหลักโดยให้แยกออกไปทางด้านซ้ายและด้านขวาของต้นด้านละ 1 กิ่ง โดยให้พาดไปตามค้าง จากนั้นตัดกิ่งที่มีตา 3-5 ตาเพื่อให้แตกกิ่งใหม่อีก 2-3 กิ่ง ส่วนกิ่งที่ได้จากกิ่งหลักให้ผูกติดกับแขนของค้าง เพื่อจะได้เป้นกิ่งสาขาต่อไป เมื่อต้นพักตัวในฤดูหนาวให้ตัดกิ่งหลักออกให้เหลือตาประมาณ 4-5 ตาและกิ่งสาขาให้เหลือ 2 ตา เพื่อให้เป็นกิ่งใหม่ในปีที่ 3 และต้องระมัดระวังเพราะกิ่งหักง่าย ในปีที่ 3 นี้อาจตัดกิ่งสาขาที่มากเกินไปออกบ้าง โดยให้ระยะห่างระหว่างกิ่งประมาณ 20-30 เซนติเมตร จะช่วยให้การตัดกิ่งในปีต่อๆไปสะดวกขึ้น ซึ่งการตัดแต่งครั้งต่อไปก็คล้ายๆกับปีที่ 3
-การดูแล
ใส่ปุ๋ยคอกสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญในการรดน้ำที่ควรทราบคือต้องใช้ระบบหยดน้ำ เพราะระบบรากตื้นหากินธาตุอาหารอยู่ผิวดิน ซึ่งการใช้ระบบน้ำหยดนี้จะไม่ทำให้ดินเป็นร่อง และไม่มีผลกระทบต่อระบบราก (ควรกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของแมลงและศัตรูพืช)
-การตัดแต่ง
หลังการปลูในปีแรกต้องเลือก 1 เถา ที่แข็งแรงและตั้งตรง มีตาที่สมบูรณ์ 4-6 ตา ใส่ดินรอบโคนต้นพูนยึดต้นให้มั่นคง ใช้ลวดยึดเถาติดกับเสาค้างเป็นระยะๆให้ต้นตรง ตัดปลายยอดใต้ระดับค้างเล็กน้อย การตัดยอดใต้ค้างประมาณ 10-20 เซนติเมตร ช่วยให้กิ่งใหม่ที่จะใช้เป็นกิ่งหลักแข็งแรง ในปีที่ 2 คัดเลือกกิ่งใหม่ให้เป็นกิ่งหลักโดยให้แยกออกไปทางด้านซ้ายและด้านขวาของต้นด้านละ 1 กิ่ง โดยให้พาดไปตามค้าง จากนั้นตัดกิ่งที่มีตา 3-5 ตาเพื่อให้แตกกิ่งใหม่อีก 2-3 กิ่ง ส่วนกิ่งที่ได้จากกิ่งหลักให้ผูกติดกับแขนของค้าง เพื่อจะได้เป้นกิ่งสาขาต่อไป เมื่อต้นพักตัวในฤดูหนาวให้ตัดกิ่งหลักออกให้เหลือตาประมาณ 4-5 ตาและกิ่งสาขาให้เหลือ 2 ตา เพื่อให้เป็นกิ่งใหม่ในปีที่ 3 และต้องระมัดระวังเพราะกิ่งหักง่าย ในปีที่ 3 นี้อาจตัดกิ่งสาขาที่มากเกินไปออกบ้าง โดยให้ระยะห่างระหว่างกิ่งประมาณ 20-30 เซนติเมตร จะช่วยให้การตัดกิ่งในปีต่อๆไปสะดวกขึ้น ซึ่งการตัดแต่งครั้งต่อไปก็คล้ายๆกับปีที่ 3
การเก็บเกี่ยว
กีวี่จะติดผลให้ได้เก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบ 1 ปี หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรมีการตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกันCr. เกษตร นานา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น