วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

แตงไทย (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cucumis melo)

แตงไทย (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cucumis melo)

     แตงลาย(เหนือ) แตงจิง แตงกิง(อีสาน) ซกเซรา(เขมร) เป็นพืชล้มลุกพื้นเมืองของไทย ลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีขนอ่อนปกคลุมตลอดทั้งลำต้นและใบ มีลำต้นลาย เป็นสันร่องตามยาว แตกกิ่งแขนง และมีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ มีลักษณะเหลี่ยมมีเว้าเล็กน้อย มีรูปทรงกลมหรือรูปไต ขอบใบหยัก มีแฉก 5-7 แฉก กว้าง และยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร โคนใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนขึ้นปกคลุม ก้านใบยาว 4-10 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกเดี่ยวสีเหลือง มีก้านดอกสั้น ดอกเพศผู้ออกเป็นจุกที่ง่ามใบ ดอกบานกว้าง 1.2-3 เซนติเมตร มีกลีบรองดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบยาว 6-8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันบริเวณโคนกลีบ แต่ละกลีบมีรูปทรงกลม ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ด้านในมีเกสรตัวผู้ 3 อัน ระหว่างอับเรณูมีติ่งยาว ส่วนดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยว มีกลีบรองดอก และกลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้ ปลายท่อรังไข่มีแฉก 3-5 แฉก ผลมีลักษณะกลมหรือรียาว ตามสายพันธุ์ ผลมีลายตามความยาวของผล มีความยาวผลประมาณ 23 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 14 เซนติเมตร ผิวเปลือกมันเรียบ ผลดิบมีสีเขียว มีลายสีขาวหรือสีเหลืองตามแนวยาว มีเนื้อสีขาวนวล ส่วนผลสุกมีเปลือกบาง เปลือกสีเหลืองหรือเขียวอ่อน มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมแรงกว่าแตงอื่นๆ นิยมปลูกสำหรับทำของหวาน รวมถึงนำมารับประทานสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก แต่ละต้นติดผลประมาณ 3-5 ผล

คุณค่าทางโภชนาการ (100 กรัม)

พลังงาน
– แตงไทยอ่อน : 19 กิโลแคลอรี่
– แตงไทยสุก : 12 กิโลแคลอรี่
เส้นใย
– แตงไทยอ่อน : 0.5 กรัม
– แตงไทยสุก : 2.7 กรัม
เถ้า
– แตงไทยอ่อน : 0.3 กรัม
– แตงไทยสุก : 0.3 กรัม 
คาร์โบไฮเดรต
– แตงไทยอ่อน : 3.7 กรัม
– แตงไทยสุก : 2.3 กรัม
โปรตีน
– แตงไทยอ่อน : 0.8 กรัม
– แตงไทยสุก : 0.8 กรัม
แคลเซียม
– แตงไทยอ่อน : 20 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : –
ฟอสฟอรัส
– แตงไทยอ่อน : 41 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 13 มิลลิกรัม
เหล็ก
– แตงไทยอ่อน : 1.1 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 0.3 มิลลิกรัม
วิตามิน C
– แตงไทยอ่อน : 31 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 17 มิลลิกรัม
วิตามิน B1
– แตงไทยอ่อน : 0.02 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 0.02 มิลลิกรัม
วิตามิน B2
– แตงไทยอ่อน : 0.03 มิลลิกรัม
– แตงไทยสุก : 0.01 มิลลิกรัม


ประโยชน์ของแตงไทย

1.ช่วยในการบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส และช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่า
2.ช่วยลดความหยาบกร้านของผิวและรอยด่างดำต่าง ๆ
3.ช่วยในการชะลอวัย และลดการเกิดริ้วรอย
4.หน้าใสไร้สิวด้วยแตงไทย ด้วยการใช้แตงไทยสุกครึ่งถ้วย นมสดครึ่งถ้วย ไข่ไก่ 1 ฟอง นำมาผสมรวมกัน แล้วนำมาพอกทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีก่อนเข้านอนแล้วล้างออก
5.ช่วยในการดับกระหาย
6.ช่วยคลายร้อน ขับเหงื่อ ลดอุณหภูมิของร่างกาย
7.มีส่วนในการช่วยบำรุงหัวใจ
8.ช่วยบำรุงประสาทและสมอง
9.ช่วยบำรุงรักษาสายตา
10.ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ
11.ช่วยในการขับน้ำนมของมารดาให้นมบุตร
12.ช่วยบรรเทาและแก้อาการไอ
13.มีสารรสขมที่ช่วยในการอาเจียน
14.ช่วยรักษาผิวอักเสบ ด้วยการใช้แตงไทยสุกบดละเอียดครึ่งถ้วย นมสดครึ่งถ้วยผสมเข้าด้วยกันจนได้เนื้อที่เข้มข้น แล้วนำมาพอกบริเวณผิวที่อักเสบทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก
15.แก้โรคดีซ่าน
16.ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
17.ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
18.รักษาแผลในจมูก ด้วยการนำมาบดเป็นผงแล้วนำมาพ่น
19.ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
20.แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
21.ช่วยในการย่อยอาหาร
22.รากนำมาต้มดื่มช่วยระบายท้อง
23.เมล็ดของแตงไทยช่วยในการขับปัสสาวะ
24.ช่วยรักษาโรคปัสสาวะอักเสบ
25.รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใช้เป็นเครื่องเคียงกินกับยำกับน้ำพริก
26.ถ้าสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้รสชุ่มเย็น นิยมรับประทานกับน้ำแข็งใส่น้ำเชื่อมกะทิแตงไทย
27.นำมาแปรรูปใช้ทำเป็นของหวาน เช่น น้ำปั่น น้ำกะทิแตงไทย ผลไม้แห้ง แยมแตงไทย 


วิธีการปลูก

-การเตรียมดิน
     นิยมปลูกบนแปลงไร่นา ต้องเตรียมดินด้วยการไถพรวนดิน พร้อมกำจัดวัชพืช และตากดิน 5-7 วัน ก่อน หลังจากนั้น หว่านโรยด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 3-5 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมไถยกร่องคล้ายกับการปลูกมันสำปะหลัง ขนาดร่องกว้าง 60-80 เซนติเมตร ซึ่งจะได้ระห่างระหว่างแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร
-การปลูก
     นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว โดยใช้วิธีการหยอดเมล็ด ระยะห่างระหว่างหลุม 60-80 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 3-5 เมล็ด
-การดูแล
     ไม่ค่อยยุ่งยากนักเหมือนการปลูกแตงชนิดอื่น หากปลูกในฤดูฝนจะอาศัยน้ำฝนในการเติบโตเท่านั้น และไม่ต้องทำค้าง เพียงปล่อยให้เลื้อยตามดิน แต่บางพื้นที่อาจพบการระบาดของไส้เดือนเจาะผล หรือผลเน่า ซึ่งต้องคอยหาที่รองผลไม่ให้สัมผัสกับดิน โดยเฉพาะในช่วงที่ดินชุ่มมาก เช่น การใช้เศษไม้ กิ่งไม้ หรือฟางรองผล
-การเก็บผลผลิต
     ผลแตงไทยที่สุกจะมีสีเหลือง และมีกลิ่นหอม ควรเก็บผลในระยะที่ผิวเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองมากกว่าร้อยละ 70 ของผล ใบเหลือง และร่วง ไม่ควรเก็บในระยะผลปริแตก เพราะจะเก็บได้ไม่นาน
------------------------------------------------------------------ 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://medthai.com
 http://puechkaset.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น