ฟักทอง (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbita moschata Duchesne)
เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา และแพร่กระจายไปทั่วโลก เป็นไม้เถาเลื้อยไปตามดิน มีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็งฟักทองแบ่งเป็นตระกูลหลักสองตระกูลคือ
1.ตระกูลฟักทองอเมริกัน (pumpkin) ขนาดผลใหญ่ เนื้อยุ่ย
2.ตระกูลสควอช (Squash) ได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น เปลือกแข็ง เนื้อแน่น
ฟักทองไทยมีหลายสายพันธุ์อยู่ในตระกูลสควอช (Squash) เช่น คางคกดำ คางคกลาย ศรีเมือง ข้องปลา สีส้ม รูปร่างกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย ดิบเปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจึงเป็นสีเหลืองอมส้ม
ฟักทองญี่ปุ่น หรือกะโบะชะ (Kabocha) อยู่ในตระกูลสควอช (Squash) เช่นเดียวกับฟักทองไทย ผลเป็นทรงกลมขนาดเล็ก เนื้อแน่น รสหวานมัน นำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น พายฟักทอง ซุปฟักทอง เทมปุระ แกง กินกับน้ำพริก
น้ำฟักทองคั้นสด มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เมล็ดฟักทองมีสารคิวเคอร์บิทีน ช่วยขับพยาธิตัวตืด ใช้เป็นอาหารว่าง น้ำมันจากเมล็ดนิยมใช้ปรุงอาหารในยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง ยอดฟักทองใช้รับประทานเป็นฝัก รากนำมาต้มดื่มช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย มีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโพรไพโอนิก” กรดนี้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง ในเนื้อฟักทองมีแคโรทีนและแป้ง ใช้แต่งสีขนมเช่น ขนมฟักทอง ลูกชุบ โดยนำเนื้อนึ่งสุกมายีกับแป้งหรือถั่วกวน
คุณค่าทางโภชนาการ ต่อ 100 กรัม
พลังงาน (แคลอรี่) : เมล็ดฟักทอง = 124, เนื้อฟักทอง = 43, ยอดฟักทอง = 16โปรตีน (กรัม) : เมล็ดฟักทอง = 2.9, เนื้อฟักทอง = 1.9, ยอดฟักทอง = 2.0
คาร์โบไฮเดรต(กรัม) : เมล็ดฟักทอง = 24.6, เนื้อฟักทอง = 8.5, ยอดฟักทอง = 1.6
ไขมัน (กรัม) : เมล็ดฟักทอง = 1.5, เนื้อฟักทอง = 0.2, ยอดฟักทอง = 0.2
แคลเซียม (มิลลิกรัม) : เมล็ดฟักทอง = 7, เนื้อฟักทอง = 21, ยอดฟักทอง = 6
ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) : เมล็ดฟักทอง = 17, เนื้อฟักทอง = 17, ยอดฟักทอง = 9
เหล็ก (กรัม) : เมล็ดฟักทอง = 1.9, เนื้อฟักทอง = 4.9, ยอดฟักทอง = 1.2
น้ำตาล 2.76 กรัม
เส้นใย 0.5 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 1 กรัม
วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม
เบต้าแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม
ลูทีน และ ซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 0.6 มิลลิกรัม
วิตามินบี5 0.298 มิลลิกรัม
วิตามินบี6 0.061 มิลลิกรัม
วิตามินบี9 16 ไมโครกรัม
วิตามินซี 9 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม
วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม
ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม
ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม
ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม
ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม
ประโยชน์
1.เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน2.ช่วยบำรุงสายตา
3.ช่วยลดน้ำหนัก
4.มีไฟเบอร์สูง
5.เมล็ดช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
6.ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
7.มีสารต้านอนุมูลอิสระ
8.บำรุงผิวพรรณให้เปร่งปลั่ง
9.เปลือกช่วยป้องกันเบาหวานและควบคุมความดันโลหิต
10.ในเมล็ดฟักทองมีกรด"ทริโตฟาน" ช่วยผ่อนคลายความเครียด
11.สาร"คิวเคอร์บิติน"ในเมล็ดฟักทองมีฤทธิ์ช่วยฆ่าพยาธิตัวตืด
12.เมล็ดฟักทองมีสาร"คิวเคอร์บิติน"ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดโรคนิ่วและโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
13.ฟักทองนึ่งมีสารโพแทสเซียมจำเข้าบำรุงฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังออกกำลังกายได้ดี
14.ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง
15.รากฟักทองเมื่อนำมาต้มดื่มจะช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ถอนพิษของฝิ่นได้
16.เยื่อกลางของผลฟักทอง สามารถนำมาใช้พอกแผล แก้อาการฟกช้ำ อาการปวดและอักเสบ
17.ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง อย่างน้ำฟักทองคั้นสด พายฟักทอง
18.นำมาใช้ในการประกอบอาหารได้ย่างหลากหลาย เช่น ซุปฟักทอง แกง กินกับน้ำพริก
19.ใช้ฝนทาแก้พิษกิ้งกือกัด (ขั้วฟักทอง)
20.ใช้แก้พิษผื่นคัน (ยางฟักทอง)
21.รักษาเริม และงูสวัด (ยางฟักทอง)
22.ใช้ต้มดื่มน้ำเป็นยาแก้ไอ (ราก)
ข้อควระวัง
เนื่องจาก “ฟักทอง” มีฤทธิ์อุ่น ดังนั้นคนที่ “กระเพาะร้อน” คือมีอาการเช่นกระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก เป็นแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้นได้นั่นเอง หรือแม้แต่ในคนปกติ การทานฟักทองมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้เช่นกัน
การปลูก
1. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้ดี เลือกเมล็ดที่มีรูปร่างอวบแน่น ไม่มีตำหนิ และจะต้องเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้น นำเมล็ดที่ได้ไปผึ่งให้แห้งก่อนนำไปปลูก ไม่เช่นนั้นต้นกล้าจะไม่งอก2. เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกฟักทอง หาไม้หลักมาปักข้าง ๆ ที่ปลูกให้แน่นหนา เมื่อต้นกล้าฟักทองเริ่มงอกขึ้นมาภายใน 7-10 วัน แล้วใช้เชือกโยงไปผูกติดกับรั้วบ้านหรือทำเป็นซุ้มเตี้ย ๆ ก็ได้ แต่ที่สำคัญพื้นที่ที่ปลูกฟักทองจะต้องมีแสงแดดส่องถึง
3. เตรียมดินและปุ๋ยให้พร้อมปลูก ดินที่ใช้ปลูกจะต้องเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ดินมีความชื้นในอัตราที่พอเหมาะ และผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเติมลงไปด้วย จากนั้นขุดหลุมหย่อนเมล็ดให้ลึกประมาณ 2-4 เซนติเมตร หย่อนเมล็ดลงไปหลุมละ 3 เมล็ด จากนั้นกลบดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะ และคลุมด้วยฟางเพื่อช่วยกักเก็บความชื้น
4. ถอนต้นกล้าที่อ่อนแอทิ้งไป เมื่อต้นฟักทองเริ่มมีใบงอกขึ้นมาภายใน 7-10 วัน หรือเห็นว่าเริ่มมีใบประมาณ 3 ใบ ให้จัดการถอนต้นที่อ่อนแอทิ้งไป และเหลือไว้แต่ต้นแข็งแรงเพียงต้นเดียวเท่านั้น
5. รอเวลาเก็บเกี่ยว ต้นฟักทองจะออกดอกช่วง 1-2 เดือนหลังปลูก โดยจะมีทั้งดอกตัวเมีย (ลักษณะดอกบานกว้าง) และดอกตัวผู้ (ลักษณะยาวตรง) ภายในต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้จะล่อให้แมลงมาผสมเกสรระหว่างดอก หลังจากนั้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ฟักทองก็จะค่อย ๆ ออกเป็นผลเล็ก ๆ ใต้ดอกตัวเมีย
การดูแล
การดูแลต้นฟักทองนั้นก็ไม่ยากอย่างที่คิด แค่รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะในตอนเช้า รดที่โคนต้นเท่านั้นอย่าให้โดนเถาและใบ ตรวจสอบการระบายน้ำให้ดีอย่าให้มีน้ำขัง หมั่นใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอยู่สม่ำเสมอ และพรวนดินอย่างระมัดระวังในช่วงระยะแรกที่ต้นเริ่มออกใบเพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชไปในตัวข้อควรระวัง
โรคราแป้ง ซึ่งเกิดจากการที่ใบและต้นฟักทองได้รับความชื้นมากเกินไป ไม่ค่อยโดนแดด ดังนั้นควรรดน้ำให้ชุ่มแต่พอดีในตอนเช้าและรดที่โคนต้นเท่านั้น นอกจากนี้ควรจะจัดการพื้นที่ให้มีแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน หากมีศัตรูพืชรบกวนไม่ว่าจะเป็นเพลี้ย แมลงหวี่ ด้วงเต่าแตง หรือแมลงวัน สามารถกำจัดออกได้โดยการใช้น้ำผสมสบู่อ่อน ๆ กาแฟ หรือแอมโมเนียฉีดพ่นลงไปที่ตัวแมลงโดยตรง
ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว
หลังจากวันที่ลงมือปลูกและนับไปอีกประมาณ 180 วัน เราก็จะได้ผลฟักทองเปลือกแข็งและเนื้อแก่เหนียวพร้อมปรุงอาหาร (9 เมนูฟักทอง เมนูสีเหลืองหลากหลายความอร่อย) วิธีเก็บผลฟักทองที่ถูกนั้นเราจะต้องตัดเอาส่วนเถาติดมาด้วยประมาณ 7 เซนติเมตร แล้วฟักทองก็จะเก็บได้นานขึ้นค่ะ
---------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/
http://www.calforlife.com/
http://www.calforlife.com/
https://home.kapook.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น