พริกไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper nigrum Linn.)
เป็นไม้เลื้อย เป็นพืชประจำถิ่นในแถบตอนใต้ของเทือกเขากาตของรัฐเกรละในประเทศอินเดีย และยังเป็นพืชเศรษฐกิจในเขตร้อน เช่น ในประเทศเวียตนาม อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดียสำหรับในไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง ต้นมีการเจริญในแนวดิ่ง สูงได้ประมาณ 10 เมตรหรือมากกว่า เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน มีลำต้นหลักและแตกแขนงออกเป็นพุ่ม มีการสร้างรากพิเศษสั้นๆบริเวณข้อเพื่อยึดเกาะสิ่งรอบข้าง ช่วยในการพยุงลำต้น ใบเดี่ยว รูปรี เรียงสลับ โคนใบและปลายใบแหลมใหญ่คล้ายใบโพ หลังใบสีเขียวเข้ม มันวาว ท้องใบสีเขียวอ่อน ชื่อดอกแบบช่อเชิงลด ดอกย่อยสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน 50-150 ดอกต่อช่อ ออกช่อตรงข้อของลำต้น ผลทรงกลมแบบเมล็ดเดียวแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 มม. ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อสุกมีสีแดง ติดผลประมาณ 50-60 เมล็ดต่อช่อผล ซึ่งเป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกเมื่อทำให้แห้งจะมีสีดำ
ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พบทั้งการใช้ประกอบอาหารทั้งผลแห้งและผลสดที่มีสีเขียว หรือผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น
พันธุ์ที่นิยมปลูก
- พันธุ์ซาราวัคหรือพันธุ์มาเลเซีย เป็นพันธุ์พริกไทยที่มีกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย จะมีความทนทานต่อโรคได้ดีการเจริญเติบโตเร็วใบจะเขียวเข้มเป็นมันหนาและมีลักษณะเรียวกว่าพันธุ์ของทางศรีลังกา ช่อมีความยาวประมาณ 6-9 เซนติเมตรผลมีลักษณะกลมโต จึงนิยมนำมาแปรรุปเป็นพริกไทยดำหรือพริกไทยขาวเพื่อจำหน่าย
- พันธุ์ซีลอนยอดขาว เป็นพันธุ์พริกไทยที่มีกำเนิดจากประเทศศรีลังกามีลักษณะเป็นเถาออกสีเขียวอ่อน จุดเด่นตรงยอดจะออกสีเขียวอ่อนออกไปทางขาว นี่คือที่มาของชื่อสายพันธุ์ ซีลอนยอดขาว ช่อผลที่ออกจะมีลักษณะยาวมาก และการเจริญเติบโตก็จะเร็วมากเช่นกันนิยมปลูกเพื่อจำหน่ายช่อสด ช่อมีลักษณะยาว ประมาณ 10-15 เซนติเมตร
- พันธุ์ซีลอนยอดแดง เป็นพันธุ์พริกไทยที่มีกำเนิดจากประเทศศรีลังกามีลักษณะเป็นเถาออกสีเขียว มีใบที่เขียวเข้ม แต่ส่วนยอดและก้านยอดที่ออกใหม่จะเป็นสีน้ำตาล จึงนิยมเรียกกันว่า ซีลอนยอดแดง จุดเด่นคือมีความทนทานต่อโรคมากกว่า เมื่อมีอายุมากขึ้นลำต้นจะใหญ่มาก ส่วนผลที่ออกจะมีสีเขียวเข้มหากผลสุกจะออกแดงเข้ม ขนาดเม็ดจะใหญ่ใกล้เคียงกับพันธุ์ซราวัค ความยาวช่อมีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
คุณค่าทางโภชนาในปริมาณ 100 กรัม
พลังงาน 94 กิโลแคลอรี่คาร์โบไฮเดรต 13.2 กรัม
โปรตีน 4.4 กรัม
ไขมัน 2.6 กรัม
แคลเซียม 15.43 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 23 มิลลิกรัม
เบต้า-แคโรทีน 28 ไมโครกรัม
ประโยชน์ของพริกไทย
1.พริกไทยอ่อนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (เมล็ด)2.เมล็ดพริกไทยช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ (เมล็ด)
3.ช่วยป้องกันและต่อต้านสารก่อมะเร็ง ช่วยเร่งการทำงานของตับให้ทำลายสารพิษได้มากขึ้น (เมล็ด)
4.ช่วยกระตุ้นประสาท (เมล็ด)
5.ช่วยแก้โรคลมบ้าหมูหรือลมชักได้ (เมล็ด)
6.ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)
7.ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทำให้ลิ้นของผู้สูงอายุรับรสได้ดียิ่งขึ้น
8.ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ (เมล็ด)
9.ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายและเสริมภูมิต้านทานไปด้วยในตัว (เมล็ด)
10.ช่วยแก้ตาแดงเนื่องจากความดันโลหิตสูง(ดอก)
11.ช่วยระงับอาเจียน (ดอก)
12.ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้พริกไทย พริกหาง นำมาบดเป็นผงผสมยาขี้ผึ้ง แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ นำมาใช้อุดฟันตรงบริเวณที่ปวด (เมล็ด)
13.พริกไทยดำช่วยขับเสมหะ เปิดคอให้โล่งขึ้น (เมล็ด)
14.ช่วยแก้เสมหะในทรวงอก แก้ลมพรรดึก (เถา)
15.ช่วยบรรเทาอาการและแก้อาการไอ หอบหืด สะอึก (เมล็ด)
16.ช่วยแก้อติสารหรืออาการลงแดง (เถา)
17.ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ราก)
18.ช่วยแก้หวัดและลดไข้ (เมล็ด)
19.ช่วยแก้ไข้เรื้อรัง ด้วยการใช้พริกไทยดำ ใบบัวบกแห้ง ใบกะเพราแห้ง อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดเป็นผง ปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ กินครั้งละ 1 เม็ด เช้าและเย็น
20.ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเพิ่มการสูบฉีดโลหิตเข้าใจ (เมล็ด)
21.พริกไทยดำสามารถช่วยละลายลิ่มเลือดและลดการจับตัวเป็นก้อนได้
22.ช่วยกระตุ้นการขับเหงื่อออกจากร่างกาย เมื่อเหงื่อระเหยออกจากผิวแล้ว จะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกเย็นสบายมากยิ่งขึ้น (เมล็ด)
23.ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้
24.ช่วยแก้อาการปวดมวนท้อง (ใบ, ราก)
25.ช่วยรักษาอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงและท้องเดินหลาย ๆ ครั้ง (เถา)
26.ช่วยลดการเกิดก๊าซในระบบทางเดินอาหาร แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ (ใบ, เมล็ด)
27.เมล็ดพริกไทยช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ ขับลมในกระเพาะ (ใบ,เมล็ด,ราก)
28.ช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำลายและน้ำย่อยในกระเพาะ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย ช่วยย่อยสารพิษตกค้างที่ไม่สามารถย่อยได้ (เมล็ด, ราก)
29.ช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น (ดอก)
30.ช่วยบรรเทาหรือคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ (ดอก)
31.ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด)
32.ช่วยแก้ระดูขาว (เมล็ด)
33.ช่วยแก้อาการอักเสบและโรคอื่น ๆ (พริกไทยดำ)
34.แก้ตะขาบกัด ด้วยการใช้ผงพริกไทยโรยบริเวณแผลที่ถูกกัด (เมล็ด)
35.ช่วยรักษาอาการเมื่อยขบ เป็นเหน็บชาง่ายในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว
36.ช่วยรักษาอาการชักจากการขาดแคลเซียมได้อีกด้วย
37.รักษากระดูกหัก ด้วยการใช้พริกไทย 5 เมล็ด เปลือกต้นของสบู่ขาว และต้นส้มกบ นำมาตำผสมเหล้าขาวแล้วผัดให้อุ่น พอกให้หนา และใช้ไม้พันผ้าให้แน่น
38.ใช้ทำเป็นยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย ด้วยการใช้พริกไทยขาว ข้าวสารคั่วเกลือทะเล อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดจนเป็นผงและปั้นผสมกับน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเมล็ดพุทรา รับประทานก่อนอาหารเช้า เย็น และก่อนนอน ครั้งละ 1 เม็ด
39.ช่วยทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มขึ้น
40.พริกไทยเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุลม (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้
41.พริกไทยมีวิตามินซีสูง ช่วยปกป้องผิวจากการถูกคุกคามจากแสงแดด
42.ช่วยป้องกันการหลับใน เมื่อขับรถเหนื่อย ๆ หรือง่วงนอน การได้กลิ่นของพริกไทยจะช่วยทำให้รู้สึกตื่นตัวมากยิ่งขึ้น
43.น้ำมันพริกไทยสามารถช่วยลดน้ำหนักตัวได้ และยังสามารถใช้นวดส่วนที่ต้องการลดได้
44.เป็นส่วนผสมสูตรสมุนไพรหลายชนิดที่นิยมนำมาปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ
45.ช่วยต่อต้านความอ้วน เพราะมีสารพิเพอรีนที่มีรสฉุนและเผ็ดร้อน จึงช่วยขัดขวางไม่ให้เซลล์ไขมันใหม่ก่อตัวขึ้น
46.ใช้ทำเป็นเครื่องเทศเพื่อใช้แต่งกลิ่นอาหาร ทำให้อาหารน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น (เมล็ดพริกไทย)
47.พริกไทยอ่อนช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ในอาหารได้ เช่น ผักเผ็ดปลาดุก ผัดเผ็ดหมูป่า
48.น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยช่วยรักษาผู้ที่ติดบุหรี่ โดยจะช่วยลดความอยากและลดความหงุดหงิดลงได้
49.นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย (พริกไทยดำ) ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ต้านพิษต่าง ๆ
50.ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาโรคกระเพาะ ใช้เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก ช่วยกระตุ้นกำหนัด ขับเหงื่อ ลดไข้ และช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท (น้ำมันพริกไทย)
การปลูก
-การเตรียมดิน1.พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเล 1-1,200 เมตร
2.มีความราดเอียง 0-25 องศา แต่ถ้าลาดเอียงมากกว่า 15 องศาควรทำเป็นขั้นบันได เพื่อป้องกันการพังทะลายของหน้าดิน
3.ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี
4.ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร
5.ความเป็นกรดด่างอยู่ระกว่า5.5-6.5
6.อุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200-2,500 มิลลิเมตร
-วิธีการขยายพันธุ์แบบง่ายๆ
1.เลือกก้านยอด ที่จะทำการขยายพันธุ์ก่อนคือ หายอดที่อวบๆ มีรากที่สมบรูณ์
2.ใส่ดินขุยมะพร้าวลงถุงพลาสติกเล็กๆ มัดปากถุงให้เรียบร้อย กรีดถุงดินในแนวยาวรดน้ำให้ชุ่มเล็กน้อย
แล้วนำไปหุ้มรากของเถาพริกไทย จากนั้นมัดด้วยเชือกพลาสติกให้แน่นพอประมาณในส่วนหัวและท้าย
หากฝนไม่ตกต้องคอยรดน้ำให้ชุ่มเสมอ จากนั้นถ้ารากเดิน ลำต้นตั้งตัวได้ดีก็นำไปปลูกลงดิน
การดูแลรักษา
ทำร่มบังแดดให้ รดน้ำวันเว้นวัน เมื่ออายุ 1 เดือนเอารมบังแดดออก ทำค้างให้ เมื่อเริ่มแตกยอดอ่อน 3-5 ยอด ต้องตัดยอดอ่อนออก เหลือยอดที่สมบูรณ์ที่สุดต้นละ 2 ยอดเท่านั้นและคอยหมั่นตรวจดูอย่าให้ยอดเลื้อยไปรวมอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของค้างเพียงด้านเดียวเพราะเมื่อพริกไทยให้ผลจะทำให้ค้างล้มได้ ดังนั้นให้ใช้เชือกมัดเถาพริกไทยเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 10-15 ซม. เปลาะแรกให้อยู่เหนือพื้นดิน 3 ข้อเมื่ออายุ 1 ปี ให้ตัดยอดที่สูงเหนือพื้นดินมาก กว่า 50 ซม.ทิ้งไปเพื่อให้แตกยอดมาใหม่และในระหว่างที่เถายังเจริญเติบโตไม่ถึงยอดไม้ค้าง ให้ตัดช่อดอกที่ออกมาระหว่างนั้นออกไป เพื่อต้นจะได้ไม่แคระแกรนโตช้า จากนั้นให้ใส่ปุ๋ย บำรุงดินหมั่นพรวนดินคลุมโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นโยกคลอนล้มลงได้ และช่วยกระตุ้นให้รากแผ่กระจายหาอาหารสะดวกยิ่งขึ้นแมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด
-เพลี้ยแป้ง เป็นศัตรูที่สำคัญ มักทำลายผลอ่อนด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณช่อผล หลังใบ กิ่งแขนง ราก ยอด และลำต้น ส่วนที่ถูกทำลายจะหงิกงอ หากรุ่นแรงจะทำให้ช่อผลแห้งและหลุดร่วง ผลผลิตเสียหาย และยอดจะแห้งตาย ถ้าพบเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง แต่ถ้าพบมากให้พ่นด้วย คาร์โบซันแฟน20% ec 30มิลลิลิตรต่อน้ำ20ลิตร-ด้วงงวงเจาะเถาพริกไทย ตัวอ่อนจะทำลายเถาพริกไทยทำให้แห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกินใบและผล ป้องกันด้วยการเผาทำลาย
-เพลี้ยอ่อน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ป้องกันด้วยการเก็บทำลาย
โรคและการป้องกันกำจัด
-โรครากเน่าหรือโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา ทำให้รากเน่าดำมีกลิ่นเหม็น ป้องกันกำจัดโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใส่ลงในดิน-โรครากเน่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำลายส่วนใบเป็นหลัก และส่วนลำต้นทั้งหมด ทำให้ใบ ดอก ผลร่วง ทำให้รากยอดแห้งไม่ออกดอก การป้องกันกำจัดเบื้องต้นให้ถอนหรือทำลาย
-โรคแอนแทรกโนส เกิดจากเชื้อรา ทำลายส่วนใบเกิดเป็นจุดวงกลมตรงกลางแผลมีลักาณะสีน้ำตาลดำหรือดำเรียงซ้อนกันเหมือนวงปีของเนื้อไม้ ถ้ารุนแรงอาจทำให้ตายได้ ป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งและเก็บไปเผาทำลาย
-โรคใบจุด ลักษณะใบเป็นแผลเป็นจุดบุ๋ม หรือสีน้ำตาลดำขอบแผลเป็นสีเหลือง เนื้อเยื่อกลางแผลยุบตัวลงเป็นชั้นๆ ถ้าเกิดที่ใบแก่จะทำให้พริกไทยทิ้งใบ และโรคนี้ยังพบกับก้านใบและลำต้น หากรุนแรงจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตหรือแห้งตาย การป้องกันกำจัดโดยแต่งกิ่งที่เป็นโรคและเก็บใบที่ร่วงไปเผาทำลาย แล้วพ้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ 80%wp
การเก็บเกี่ยว
อายุในการให้ผลผลิตของต้นพริกไทยจะอยู่ในปีที่ 3 จึงเริ่มให้ดอกและติดผล และจะสามารถเก็บเกี่ยวผลได้ในอีก 6-7 เดือนถัดมา การเก็บเมล็ดนันต้องดูวัตถุประสงค์ว่าต้องการเก็บเพื่อใช้เป็นพริกไทยขาว หรือต้องการเก็บเป็นพริกไทยดำ เพราะทั้งสองแบบมีวิธีการเก็บที่แตกต่างกัน-การเก็บเมล็ดเพื่อใช้เป็นพริกไทยขาวหรือพริกไทยล่อน ให้สังเกตจากรวงหรือช่อของพริกไทยที่มีเมล็ดสีเหลือง หรือสีแดง ช่อละ 3-4 เมล็ด การเก็บให้เก็บทั้งช่อ โดยทยอยเก็บเป็นระยะ แต่ในฤดูเก็บเกี่ยวหนึ่ง ๆ ไม่ควรเก็บเกินกว่า 4 ครั้ง เพราะจะทำให้ต้นโทรมได้ จากนั้นนำไปตากแดดแล้วนำไปนวดเพื่อแยกเมล็ดออกมา แล้วนำเมล็ดไปใส่ไว้ในกระสอบมัดปากให้แน่น นำไปแช่น้ำนาน 7-14วัน
แล้วนำไปตากแดดทันทีหากไม่มีแดดให้แช่น้ำไว้ก่อนป้องกันการขึ้นรา การตากแดดให้ตากบนลานหรือเสื่อลำแพนโดยเกลี่ยให้ กระจายสม่ำเสมอ ตากแดดประมาณ 4-5 วัน การทดสอบว่าเมล็ดแห้งสนิทแล้วหรือยังทำได้โดยใช้มือกอบเมล็ดขึ้นมาค่อย ๆ ถ่างนิ้วให้ เมล็ดลอดลงระหว่างนิ้วหากมีการฝืดลอดลงนิ้วยากแสดงว่ายังไม่แห้งสนิท หรือจะใช้วิธีฟันขบดูหากแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แสดงว่าแห้งดีแล้ว แต่ถ้าแตกออกเป็นสองซีกแสดงว่ายังแห้งไม่ดี ให้ตากแดดต่อไปอีก
-การเก็บเมล็ดเพื่อใช้ทำพริกไทยดำ ให้เก็บเมล็ดแก่จัดที่ยังมีสีเขียวอยู่ โดยให้ใช้เล็บจิกลงที่เมล็ด หากจิกไม่ลงแสดงว่า เมล็ดแก่ดีแล้ว การเก็บให้เก็บทั้งช่อเช่นเดียวกัน แล้วนำไปตากแดดบนลานหรือเสื่อแล้วใช้ผ้าใบหรือสังกะสีคลุมทับไว้ 3-4 วัน เพื่อให้ก้านเหี่ยว ง่ายต่อการนำไปนวดแยกเมล็ดออก จากนั้นนำไปร่อนในตะแกรงที่มีรูให้เมล็ด ลอดออกมาได้จนเหลือแต่เมล็ด พริกไทยล้วน ๆ แล้วนำไปตากแดดให้สม่ำเสมอประมาณ 5-6 วัน เมล็ดที่แห้งสนิทดีแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
------------------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก https://medthai.com
https://th.wikipedia.org
https://sites.google.com
https://th.wikipedia.org
https://sites.google.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น