วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

ถั่วลันเตาหวาน (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pisum sativum)

 

ถั่วลันเตาหวาน (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pisum sativum)

     เป็นพืชในตระกูลถั่ว (Leguminosae) ซึ่งโดยปกติถั่วลันเตาชนิดรับประทานเมล็ดจะมีฝัก เหนียวและแข็ง เมล็ดโต แต่ได้รับ การปรับปรุงพันธุ์ สำหรับการ รับประทานฝักสด มีเนื้อฝักหนา รสหวาน กรอบ
สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วหวาน ดิน ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วลันเตา ควรมีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึก และควรมี pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
อุณหภูมิ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 13-18’C หากอุณหภูมิต่ำกว่า 4’C หรือสูงกว่า 29’C จะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก และในกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 30’C ดอกและฝักร่วง ไม่ควรปลูก ในสภาพอากาศเย็นมีน้ำค้างแข็ง โดยเฉพาะในระยะที่ดอกบานและเริ่มติดฝัก และควรได้รับแสงตลอดทั้งวัน ถั่วลันเตาหวาน มีคุณค่าทางอาหารเหมือนถั่วลันเตาโดยทั่วไป คือ มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาก เหมาะอย่างยิ่งต่อการบำรุงกระดูกและฟัน ฟากฝักแก่สามารถนำเมล็ดมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ลวกและโรยบนสลัด ผัดผักรวม ใส่ไข่ยัดไส้ ข้าวผัด เป็นต้น สำหรับฝักสดสามารถนำมาลวกรับประทานกันสเต๊ก หรือผัดไฟแรงอย่างรวดเร็ว จะมีรสหวานและกรอบ

คุณค่าทางโภชนาการใน 100 กรัม 

พลังงาน : 52 กิโลแคลอรี่ใยอาหาร : 3.3 กรัม
โปรตีน : 4.3 กรัมไขมัน : 0.1 กรัม
คาร์โบไฮเดรต : 8.5 กรัมแคลเซียม : 171 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส : 115 มิลลิกรัม
เหล็ก : 1.5 มิลลิกรัม
วิตามินบี 1 : 0.11 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 : 0.09 มิลลิกรัม
ไนอาซีน : 1.4 มิลลิกรัม
วิตามินซี : 23 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน : 11.8 ไมโครกรัม

ประโยชน์

1.ช่วยระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
2.ช่วยลดน้ำหนัก
3.ช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
4.ใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับเด็ก ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย แก้ท้องเสียเรื้อรัง
5.เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันสูง สามารถรับประทานได้เนื่องจากมีโซเดียมต่ำ
6.แก้โรคไทรอยด์ได้
7.ช่วยยับยั้งโรคคอพอก
8.บำรุงสายตาและผิวพรรณ

วิธีการปลูกและการดูแล

การเตรียมดิน ขุดดินและใส่ปูนขาวตามคำแนะนำจากการวิเคราะห์ดิน อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 10 วัน ก่อนปลูกคลุกปุ๋ย 0-4-0 อัตรา 40 กรัม/ตร.ม. กับ 12-24-12 อัตรา 25-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดินแปลงกว้าง 1 ม.(แถวคู่)

การปลูก เมล็ดพันธุ์ที่ใช้จะใช้ประมาณ 5-8 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ให้แช่น้ำ 1 คืน และคลุกด้วยยากันเชื้อรา สำหรับหลุมปลูกจะใช้วิธีการขุดหลุมหรือเป็นร่องยาวตื้นพอกลบเมล็ดได้ ลึกประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร พร้อมโรยด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ การหยอดเมล็ดจะใช้เมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 30 เซนติเมตร กลบด้วยหน้าดิน และคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากปลูก 3-5 วัน เมล็ดถั่วลันเตาจะเริ่มงอก เมื่อต้นอ่อนมีใบจริง 3-5 ใบ หรือสูงประมาณ 8-10 เซนติเมตร ให้ถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง โดยให้เหลือเพียงหลุมละ 2 ต้น หรือหากเป็นการหยอดแบบไม่เป็นหลุมให้ถอนเหลือต้นเดียวตามระยะที่เหมาะสม
ข้อควรระวัง
หยอดเมล็ดลึกจะทำให้เน่าควรคลุกเคล้าเมล็ดด้วยไตรโครเดอร์มา หรือเอพรอน 35

การทำค้าง เมื่อปลูกได้ 10 วัน โดยปักไม้ค้างสูง 2 ม. ระยะห่าง 1 ม. ผูกเชือกช่วงละ 20 ซม.
ให้น้ำทุก 2-3 วัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก หากขาดน้ำจะไม่ติดฝัก
 
การใส่ปุ๋ย
พืชอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.พืชอายุ 30 วัน ให้ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. กลบดินบางๆ แล้วรดน้ำตาม ควรกำจัดวัชพืชพร้อมการให้ปุ๋ย
การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บผลผลิต เมื่อมีอายุได้ประมาณ 45-70 วัน เก็บ 3 วัน/ครั้ง เป็นเวลา 15-25 วัน(ถ้าดูแลรักษาดี) ปลิดให้มีขั้วติดฝัก ไม่ควรล้างน้ำ คัดฝักเสียทิ้งและผึ่งให้แห้ง 1 คืน ก่อนบรรจุลงในตะกร้าพลาสติก

การพรวนดิน และกำจัดวัชพืช
การพรวนดิน และกำจัดวัชพืช ควรทำทุกๆ 2 อาทิตย์ จนต้นถั่วสูงได้ 30-50 ซม. แล้วจึงหยุด ซึ่งช่วงนี้ต้นถั่วจะสามารถแข่งเติบโตกับวัชพืชอื่นได้ดีแล้ว
โรคและแมลงศัตรูในช่วงระยะต่างๆ
ระยะปลูก-ปลูกซ่อม 0-10 วัน โรคเหี่ยว, หนอนชอนใบ,
ระยะเริ่มติดดอก 25-35 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ,
ระยะฝักเจริญเติบโต 35-45 วัน โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ
ระยะเก็บเกี่ยว 45-70 โรคเหี่ยว, โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรคเน่าเปียก, หนอนชอนใบ, เพลี้ยไฟ

การเก็บเกี่ยว

อายุการเก็บเกี่ยวของถั่วลันเตามีความแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะใช้เกณ์ ดังนี้
– อายุการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 60-90 วัน หลังปลูก
– อายุการเก็บเกี่ยวจากจำนวนวันหลังดอกบาน  5-7 วัน
– ระยะการเก็บเกี่ยวจากความหนาของฝัก พันธุ์ฝักเล็ก หนา 0.44-0.68 เซนติเมตร พันธุ์ฝักใหญ่ หนา 0.53-0.64 เซนติเมตร
– ลักษณะฝักอวบ สีเขียวอ่อน เปราะกรอบ ไม่เหนียว
     การเก็บฝักอ่อนถั่วลันเตา ควรเก็บเกี่ยวฝักสดวันเว้นวัน โดยทั่วไปมีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวนาน 30-60 วัน ซึ่งต้องเก็บในระยะฝักอ่อนที่เต็มไปด้วยน้ำตาล หากฝักแก่ น้ำตาลจะถูกเปลี่ยนเป็นแป้งทำให้ความหวานลดลง และมีเส้นใย และความเหนียวมากขึ้น

----------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

http://puechkaset.com
 http://www.vegetweb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น